Live สด : เคล็ดลับรวยไวของเจ้าของธุรกิจยุคนี้ พร้อมสูตรใช้ Facebook สร้างรายได้!

คงไม่จำเป็นต้องบอกว่า การทำการตลาดบน Facebook (เฟสบุค) เป็นกลยุทธ์จำเป็นสำหรับธุรกิจเกือบทุกประเภท ที่ต้องการจะประสบความสำเร็จในด้านยอดขายหรือเพิ่มรายได้ ในปัจจุบัน เพราะไม่ว่าใครๆ ก็ใช้เฟสบุคกันทั้งนั้น ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ 

จากรายงานอย่างเป็นทางการของ เฟสบุค เผยว่ามีผู้ใช้งานทั่วโลกมากถึง 2,500 ล้านคนต่อเดือน และ 2 ใน 3 ของผู้ใช้งานจะเข้าเพจร้านค้าอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เริ่มรู้ว่า ร้านค้าส่วนใหญ่มีเพจเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารกับลูกค้า หากเราเป็นเจ้าของธุรกิจไม่ว่าจะรายเล็กหรือรายใหญ่ ก็ไม่ควรพลาดช่องทางโซเชียลมีเดียแห่งนี้เช่นกัน 

สำหรับใครที่คิดหรือเริ่มทำการตลาดบน เฟสบุค ในปีนี้ นอกจากการไลฟ์ที่ WOW เกริ่นเป็นหัวข้อ ยังมีวิธีน่าลองอะไรอีกบ้าง? WOW มีแนวทางการตลาดเฟสบุคน่าสนใจ เล่าตั้งแต่จุดเริ่มต้นมาให้เก็บไว้เป็นไอเดียการตลาดขององค์กรของคุณในปีนี้กัน

เฟสบุค, เพจเฟสบุค

ขั้นตอน-ต่อ-ขั้นตอน เปิดเพจ เฟสบุค เพื่อธุรกิจ/การค้า

การเปิดเพจบนเฟสบุคเป็นการสร้างช่องทางเพื่อโฆษณาสินค้าและบริการที่ง่ายที่สุดและดีที่สุดช่องทางหนึ่งในเวลานี้ เพราะหนึ่ง ธุรกิจสามารถโพสต์ภาพหรือวิดีโอแสดงสินค้าพร้อมกับระบุข้อมูลและคำเชิญชวนให้ซื้อได้ละเอียดจุใจ สอง จะไลฟ์ (Live) หรือออกอากาศสดเพื่อขายของ ณ เวลานั้น (real time) เลยก็ได้ และข้อสุดท้าย ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ทีนี้มาดูว่า ขั้นตอนการเปิดเพจเฟสบุคต้องทำอย่างไรบ้าง

1. สร้างเพจเฟสบุคเพื่อธุรกิจ

  • เฟสบุคจะมีส่วนของ Facebook Business Page ให้เราเข้าไปที่  facebook.com/pages/create ซึ่งเราต้องมีบัญชีผู้ใช้งานปกติก่อนถึงจะสร้างเพจได้
  • เลือกรูปแบบเพจ จะมี 2 ประเภท คือ ธุรกิจ/แบรนด์ กับชุมชนหรือบุคคลสาธารณะ ให้เลือกประเภทแรกโดยคลิกที่ “Get Started”

เฟสบุค, เลือกรูปแบบ

  • ใส่รายละเอียดธุรกิจของเราได้เลย

2. ใส่ภาพแบรนด์

อัพโหลดรูปโลโก้หรือสัญลักษณ์แบรนด์พร้อมกับภาพหน้าปกเพจ ซึ่งวิธีที่ทำให้ภาพรวมของเพจดูดี คือ การเลือกขนาดของรูปภาพที่เหมาะสมกับเพจเฟสบุค ปัจจุบัน (ปี 2020) อยู่ที่ขนาด 820×360 และควรจัดตัวหนังสือหรือภาพวัตถุให้อยู่ตรงกลางของภาพที่สุด 

3. ใส่รายละเอียดของแบรนด์

เพจมีแต่ภาพยังไม่ใชเพจที่สมบูรณ์และไม่น่าเชื่อถือ ให้เราคลิกที่ Edit Page Info (แก้ไขข้อมูลเพจ) และกรอกข้อมูลที่สำคัญดังนี้

  • คำอธิบาย : ธุรกิจของเราคืออะไร และทำอะไร ความยาวไม่เกิน 255 ตัวอักษร
  • ข้อมูลติดต่อ : กรอกช่องทางการติดต่อที่เราต้องการให้ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายติดต่อหา รวมถึงเว็บไซต์ธุรกิจของเราด้วย
  • ข้อมูลที่มีประโยชน์ : ข้อมูลที่ช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงเราได้เร็วที่สุด เช่น เวลาทำการของธุรกิจ ที่ตั้ง

4. สร้าง username หรือ URL ให้เพจ

ชื่อ username ช่วยให้ผู้คนเจอเราในเฟสบุคได้ง่ายขึ้น ความยาวไม่เกิน 50 ตัวอักษร ชื่อที่ดีควรจะ :

  • ดีต่อการค้นหาใน Google ถ้าเป็นไปได้ก็ใช้ชื่อแบรนด์สินค้าของเราไปเลย
  • พยายามใช้ชื่อเดียวกันกับทุกช่องทางโซเชียลมีเดียของธุรกิจ

5. ใส่ปุ่ม Call-to-Action

ปุ่ม Call-to-Action หรือปุ่มชี้นำ เป็นปุ่มที่เจ้าของเพจแนะผู้ใช้งานว่า ควรทำอะไรกับเพจ เช่น กดติดต่อเราผ่านระบบข้อความ ซื้อสินค้าของเรา เราเติมปุ่มดังกล่าวได้ที่ข้างใต้ของภาพหน้าปกของเพจ

6. ตรวจดูการตั้งค่าของเพจอีกรอบ

เพจเฟสบุคสามารถแต่งตั้งผู้ดูแลเพจหรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า แอดมิน  ซึ่งผู้สร้างเพจสามารถให้สิทธิการใช้งานเพจกับแอดมินแต่ละคนต่างกันมากน้อยได้ด้วย 

อ่าน : เขียนบทความท่องเที่ยว : ลูกเล่น(ไม่)ลับที่เว็บขายทัวร์ทำง่ายๆ แต่เพิ่มยอดขายจริง

ประเภทของโพสต์ในเพจเฟสบุค

เมื่อเพจธุรกิจของเราเกิดขึ้นเรียบร้อย ทีนี้จะโพสต์อะไรบนเพจดี? สิ่งที่โพสต์ควรเป็นสิ่งที่สร้างความสนใจและการโต้ตอบสื่อสารกับผู้ติดตามเพจได้ ซึ่ง WOW รวมรูปแบบการโพสต์เชิงการตลาดที่ใช้ได้ผลมาให้เลือกดูกัน

1. ตั้งสถานะเป็นประโยคง่ายๆ 

ปุ่มสถานะหรือ Status (สเตตัส) เป็นโพสต์เฟสบุคที่ง่ายที่สุด เพราะเนื้อหามีแค่ข้อความ ไม่มีภาพ ไม่มีวิดีโอ หรือแม้แต่ลิงค์เว็บใดๆ 

แม้ว่าการโพสต์ข้อความบนเพจอาจไม่ช่วยให้คนอ่านเข้าเว็บไซต์ของเรา หรือเกิดการซื้อสินค้า/บริการ แต่ช่วยให้คนสนใจและมีการโต้ตอบกับเพจได้ ข้อความเหล่านี้ควรจะเป็นประโยคคำถามหรือประโยคที่สื่อถึงการมีส่วนร่วมของผู้อ่าน

เฟสบุค, โพสต์เฟสบุค

ข้อความให้กำลังใจของ โอปอล ปานิสรา นักแสดงชื่อดัง มีคนกดไลค์ถึงหลักหมื่น

2. โพสต์ภาพ

การโพสต์ภาพบนเพจก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยสร้างความเคลื่อนไหวบนเพจ ซึ่งระบบของเฟสบุคยังปรับให้ การโพสต์ด้วยรูปภาพเข้าถึงคนได้มากกว่าการตั้งสถานะเปล่าๆ ด้วย สำหรับเพจธุรกิจ ภาพที่โพสต์ควรเป็นภาพสินค้าหรือบริการที่สวย ดูดี ที่สำคัญควรใช้ภาพที่มีคุณภาพสูง เผื่อภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์

หากสิ่งที่ขายเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น การบริการ ควรเสริมด้วยการใช้ภาพกราฟิก ภาพลายเส้น หรือ infographic แสดงรายละเอียดแทน

เฟสบุค, โพสภาพ

3. โพสต์วิดีโอ

ขยับขึ้นมาจากการโพสต์ภาพ คือ วิดีโอหรือคลิปสั้นๆ ซึ่งเหมาะมากสำหรับธุรกิจที่มั่นใจในการสร้างงานโฆษณาหรือการตลาดด้วยภาพเคลื่อนไหวพอสมควร 

คลิปที่แนะนำควรเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถจับความสนใจของคนใช้เฟสบุคที่กำลังปัดหน้าจอไถฟีดเล่นๆ อยู่ หากเป็นคลิปที่มีความยาวควรเป็นคลิปแนวละครซีรี่ย์ชวนติดตามหรือเรื่องราวน่าประทับใจที่น่าแชร์ต่อ ขณะที่ Facebook แนะนำว่า คลิปวิดีโอที่โพสต์ควรมีความยาวอย่างน้อย 1 นาที หรือไม่อย่างนั้นก็ 3 นาทีหรือนานกว่านั้น

เฟสบุค, เวียร์ ศุกลวัฒน์

4. “ไลฟ์สด” ขายได้หมดถ้าใจ (และกล้อง) พร้อม

Facebook Live คือ โปรแกรมเผยแพร่เนื้อหาในเวลานั้นๆ ของเพจหรือเจ้าของเฟสบุค ประหนึ่งว่า ทุกคนมีสถานีโทรทัศน์ออกอากาศรายการของตัวเอง ที่ผู้ใช้งานคนไทยมักเรียกโปรแกรมนี้อย่างติดปากว่า ไลฟ์สด และการไลฟ์ส่วนใหญ่โดยผู้ใช้งานรายย่อยมีขึ้นเพื่อขายสินค้า  ซึ่งยังคงได้รับความนิยมมากจนถึงทุกวันนี้

สำหรับธุรกิจที่เป็นแบรนด์หรือมีโครงสร้างธุรกิจที่ชัดเจน การไลฟ์อาจจะเป็นเนื้อหาเชิงเบื้องหลังการทำงาน กว่าจะได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ของบริษัท การแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว ซึ่งการไลฟ์ยังเป็นช่องทางให้เจ้าของธุรกิจได้พูดคุยสื่อสารกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรงและ real time ด้วย

ไลฟ์ขายของ, ทำเว็บขายของ, ขายอะไรดี
ภาพ: เพจพิมรี่พาย ขายทุกอย่าง

5. โพสต์ลิ้งค์เว็บ

การโพสต์ลิ้งค์ คือ การโพสต์ลิ้งค์ของเว็บอื่นลงบนหน้าฟีดเพจเฟสบุคของเราเอง ซึ่งเว็บอื่นที่ว่าสำหรับเพจธุรกิจก็ต้องเป็นลิ้งค์เว็บไซต์ของเรา หรือลิ้งค์โปรโมชั่นส่งเสริมการขายต่างๆ โดยส่วนมากแล้วก็จะมีการเกริ่นหรืออธิบายในโพสต์ด้วยว่า ลิ้งค์ที่โพสต์พูดเกี่ยวกับเรื่องอะไร

เฟสบุ๊ค, โพสลิ้ง

6. สร้างโพลสำรวจ

อย่างที่บอกไปว่า การตั้งคำถามช่วยให้คนมีส่วนร่วมหรือดึงความสนใจกับโพสต์ได้มากขึ้น เช่นกันกับการทำโพลหรือสำรวจความคิดเห็น เพจขายของก็สามารถทำได้เช่นกัน สิ่งที่ต้องทำคือ ตั้งคำถาม สร้างตัวเลือกคำตอบ และกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการทำสำรวจ 

วิธีนี้เหมาะมากกับเพจที่มีผู้ติดตามเยอะในระดับหนึ่งและผู้ติดตามมีการโต้ตอบสื่อสารกับเพจด้วย เช่น เพจสำนักข่าว เพจร้านอาหารมีสาขาเยอะๆ เป็นต้น

เฟสบุ๊ค, โพล facebook

7. ทำ Facebook Stories

Facebook Stories เป็น feature ภาพหรือคลิปวิดีโอสั้นๆ ที่จะอยู่ในเพจได้แค่ 24 ชม. Feature นี้มาจากแอปพลิเคชันแชร์ภาพและวิดีโอ Instagram เพราะ Instagram เวลานี้บริหารโดยเฟสบุคแล้ว จึงทำให้มีการเชื่อมต่อ feature ต่างๆ จาก Instagram เข้าสู่เฟสบุคได้ง่ายขึ้น

รวมถึง feature “IG Stories” ของ Instagram ด้วย แต่การทำ Facebook Stories ไม่จำเป็นต้องมี Instagram ก็ใช้ได้

เฟสบุ๊ค, facebook stories

8. ปักหมุดโพสต์

ปักหมุดโพสต์ หรือ pinned post ก็คือ โพสต์ใดๆ ที่ทางเพจตรึงไว้ให้มันเป็นโพสต์แรกที่คนจะเข้ามาเห็นเสมอ สิ่งที่ควรปักหมุดไว้อาจจะเป็น โพสต์ประกาศสำคัญของธุรกิจ โฆษณาที่ต้องการโปรโมทเยอะๆ หรือโพสต์ที่มี engagement จากผู้คนเยอะๆ ก็ได้

เฟสบุ๊ค, pin post

โพสต์แบบไหนเหมาะกับเพจและธุรกิจของเรา?

วิธีฟังเสียงลูกค้าจะช่วยให้เรารู้ว่า 

  • ลูกค้าปัจจุบันชอบบริษัทหรือผลิตภัณฑ์ของเราที่จุดไหน?
  • ธุรกิจของเราตอบโจทย์หรือช่วยลูกค้าได้อย่างไร?
  • ธุรกิจของเราแตกต่างจากคู่แข่งด้านใดบ้าง? (ผลิตภัณฑ์, ระบบการทำงาน, วิธีดูแลลูกค้าหลังการขาย, ภาพลักษณ์ ฯลฯ)

อาจจะเริ่มจากดูเนื้อหาของเพจอื่นๆ เช่น เพจของคู่แข่ง ว่าเนื้อหาที่เพจอื่นๆ ทำแล้วประสบความสำเร็จเป็นแบบไหนแล้วมาปรับใช้

ขายอะไรดี 2022, ขายของออนไลน์, รับทำเซลเพจ, sale page คือ

7 ขั้นตอน สร้างกลยุทธ์การตลาดเฟสบุค 

รู้แล้วว่า โพสต์เฟสบุคมีหน้าตาแบบไหนบ้าง คราวนี้มาดูขั้นตอนการทำการตลาดบนเฟสบุคกันแบบทีละเสต็ปเลย

1. กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าของเราเป็นใคร?

จะสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ สั่งงานได้งาน ต้องรู้ก่อนว่าจะสื่อสารกับใคร เช่น

  • อายุของผู้ติดตามเพจ
  • ที่อยู่
  • อาชีพ 
  • สิ่งที่พวกเขาต้องการหรือสิ่งที่ขาด
  • พวกเขาใช้เฟสบุคอย่างไรและเมื่อไหร่

2. ตั้งเป้าหมายของการโพสต์

เป้าหมายของการโพสต์ของแต่ละธุรกิจไม่เหมือนกัน เป้าหมายมีอะไรได้บ้าง :

  • ทำให้เกิดพฤติกรรมบางอย่าง เช่น เข้าเว็บไซต์บริษัท, ติดต่อไปที่ฝ่ายขาย
  • ทำให้เกิดการซื้อขายบนเว็บไซต์
  • พัฒนาการบริการลูกค้าให้ดีขึ้น

ยังมีเป้าหมายอื่นๆ ได้อีก แต่ละองค์กรสามารถย้อนกลับไปดูที่เป้าหมายหลักขององค์กรก็ได้ ว่าต้องการอะไร ให้จำไว้ว่า ทุกโพสต์ ทุกคอมเมนท์ ทุกโฆษณา ที่เกิดขึ้นบนเพจของบริษัทต้องส่งเสริมเป้าหมายองค์กรเป็นสำคัญ 

3. วางแผนเนื้อหาที่จะโพสต์

พอมีเป้าหมายแล้ว สิ่งที่ควรมีต่อมาคือ แผนการพิชิตเป้าหมาย คำถามคือ เนื้อหาที่เราจะโพสต์ควรจะมีอะไรบ้าง สำหรับเพจธุรกิจ โพสต์ต่างๆ ควรมีส่วนผสมที่เรียกว่า 80/20 นั่นคือ

  • 80% ของโพสต์ที่ให้ความรู้ บอกเล่าสาระ หรือสร้างความบันเทิงให้ผู้ติดตาม
  • 20% ของโพสต์ที่โปรโมทแบรนด์หรือขายของ

ส่วนผสมนี้มาจากธรรมชาติของการใช้เพจเฟสบุค ที่เป็นเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์เป็นหลัก และค่อยตามมาด้วยเรื่องการนำเสนอตัวเองเป็นส่วนน้อยหรือสูตรการโพสต์ที่มีรายละเอียดยิบย่อยกว่านั้น ก็คือสูตร 3 ส่วน ได้แก่

  • โพสต์ส่วนหนึ่งให้ความรู้หรือเล่าเรื่องราว
  • โพสต์ส่วนหนึ่งพูดคุยกับผู้ติดตาม
  • โพสต์ส่วนหนึ่งโปรโมทธุรกิจ

ส่วนเวลาที่เหมาะกับการโพสต์ ขึ้นอยู่กับเพจของคุณมีลูกค้าเป็นใคร

  • เพจแบบ B2B (มีลูกค้าเป็นธุรกิจหรือองค์กร) เวลาที่ดีที่สุดสำหรับการโพสต์คือ ช่วง 9.00 น. และ 14.00 น.
  • เพจแบบ B2C (มีลูกค้าเป็นคนทั่วไป) เวลาที่ดีที่สุดสำหรับการโพสต์คือ ช่วงเที่ยง

นอกจากนี้ เมื่อรู้แล้วว่าควรโพสต์อะไร เวลาโพสต์คือเมื่อไหร่ ให้ทำตารางการโพสต์เนื้อหาขึ้นมา เพราะสิ่งที่สำคัญของการโพสต์คือความสม่ำเสมอด้วย 

4. ใช้เครื่องมือเฟสบุคให้เป็นประโยชน์

เพจ นอกจากจะมีพื้นที่ให้โพสต์แล้ว ยังมีเครื่องมืออื่นๆ ที่ช่วยโปรโมทเพจได้

  • กลุ่ม (Facebook Group)

กลุ่มเป็นเหมือนชุมชนหรือชมรมที่มีคนที่มีความสนใจเดียวกันมาอยู่ด้วยกัน เพื่อแบ่งปันประโยชน์ต่างๆ 

สำหรับเพจธุรกิจก็สามารถสร้างกลุ่มเพื่อนำเสนอสิ่งที่เราเชี่ยวชาญหรือสิทธิพิเศษเฉพาะผู้ติดตามประจำหรือลูกค้าได้ เช่น บริษัทขายทัวร์อาจจะสร้างกลุ่ม “คนชอบเที่ยวกับทัวร์”, “ตามติดโปรฯ ทัวร์ยุโรป” สองกลุ่มนี้เอื้อต่อธุรกิจขายทัวร์ได้เป็นอย่างดี

  • ระบบตอบคำถามอัตโนมัติ (Chatbot)

ข้อมูลจาก Facebook ชี้ว่า ผู้ใช้งานเฟสบุคส่งข้อความกับเพจธุรกิจต่างๆ ถึง 20,000 ล้านข้อความทั่วโลกในทุกๆ เดือน ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้งานมองว่าเพจเป็นช่องทางที่สามารถส่งข้อความส่วนตัวหาได้ และคาดหวังที่จะได้รับการตอบรับ

ข้อมูลนี้ยังบอกเพิ่มเติมว่า ผู้ใช้งานคาดหวังว่าเพจธุรกิจจะตอบข้อความทันที และอาจจะรอนานถึง 10 นาที ก่อนจะเปลี่ยนใจไปคุยกับบริษัทอื่น

ดังนั้น ระบบตอบลูกค้าอัตโนมัติ จึงมีประโยชน์ต่อธุรกิจที่ใช้เฟสบุคเป็นอย่างยิ่ง โดยนอกจากข้อความทักทาย ทางเพจสามารถใส่ข้อมูลที่สามารถตอบลูกค้าได้โดยอัตโนมัติ เช่น โปรโมชั่นต่างๆ คำถามที่ลูกค้าถามบ่อย ซึ่งจะช่วยทุ่นแรงพนักงานคนจริงๆ ในการตอบลูกค้าด้วย

5. เฝ้าดู ประเมิน และเติมแต่งโพสต์ให้ดีขึ้น

วิธีทำการตลาดเป็นเรื่องของการคิด ทดลองทำจริง และประเมินผลเพื่อแก้ข้อด้อยและเสริมข้อดีให้ดีกว่าเดิม เช่นกันกับการตลาดที่ทำบนเฟสบุค เมื่อโพสต์เนื้อหาไปแล้ว ผู้ดูแลเพจควรดู :

  • จำนวนการกดแสดงความรู้สึก เช่น ชอบ (Like)
  • จำนวนคนที่มองเห็น (Reach)
  • จำนวนคนที่มีปฏิสัมพันธ์กับโพสต์ (Engagement) ได้แก่ การคลิกดู, Like, Comment และ Share
  • โพสต์ใดที่ทำให้ผู้ติดตามกด Unlike เพจ

 

เฟสบุ๊ค, รับทำเว็บไซต์

WOW ส่งท้าย

โลกของการตลาดใน Facebook มีแนวโน้มที่จะเติบโตไปในรูปแบบอื่นๆ ตามการพัฒนาฟังก์ชั่นของเฟสบุค ถ้าสามารถไล่ทันยิ่งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี 

สิ่งที่ธุรกิจที่มีเพจหรือมีความตั้งใจจะสร้างเพจเพื่อประชาสัมพันธ์ควรคำนึงไว้คือ การใช้ฟังก์ชั่นของเพจ Facebook ให้ได้ประโยชน์สูงสุด ความพยายามอย่างต่อเนื่อง และการตามกระแสความสนใจของคนให้ทัน ซึ่งเป็นพื้นฐานหลักของการตลาด

ล่าสุด WOW We On Web เปิดตัวบริการการตลาดออนไลน์ Online Marketing Service รับทำการตลาดออนไลน์ ทำ SEO ครบวงจรบน Facebook และโซเชียลมีเดียอื่นๆ และเว็บไซต์ธุรกิจ และบริการออกแบบกราฟฟิค Graphic Design เริ่มต้นที่ 2,500 บาท งานสวยจากบริษัทมืออาชีพในราคาที่คุณเอื้อมถึง เมื่อการตลาดดี หลังบ้านก็พร้อมขาย ธุรกิจไปได้สวยแน่นอน

 

อ้างอิง :

     snappa.comhootsuite.com

อยากทำเว็บไซต์ธุรกิจที่ช่วยสร้างยอดขายได้จริง ปรึกษา WOW ฟรีที่นี่

รับบทความใหม่ ไปอ่านก่อนใครไหม?

ทำธุรกิจออนไลน์ด้วยความรู้อัปเดต เข้าใจง่าย ได้ยอดขายดีจริงๆ กันดีกว่า!

บทความน่าอ่านในหมวดเดียวกัน

facebook-page-promote-hotel
Social Media

โพสต์แบบนี้ต้องจองแล้ว! 10 เทคนิคโปรโมทโรงแรมบน Facebook ให้ปัง

เชื่อว่าทุกวันนี้โรงแรมต่างๆ โปรโมทโรงแรม ที่พักของตัวเองผ่านโซเชียลมีเดียกันหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเพจเฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ ฯลฯ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อดึงมาเป็นลูกค้าให้มากที่สุด แต่ถึงรู้แล้วว่าต้องโปรโมทผ่านช่องทางไหน แล้วจะโปรโมทอย่างไรให้น่าสนใจน่าจอง?โรงแรม รีสอร์ท โฮสเทล หรือที่พักเพื่อเช่า จะ โปรโมทที่พัก อย่างไร ให้ลูกค้าเลือกจองที่พักกับเราจริงๆ? Facebook ยังคงเป็นช่องทางทรงพลังในการโปรโมทธุรกิจของเราในปี 2024 นี้ วันนี้ WOW มีเคล็ดลับ

5-reason-why-should-never-depend-on-social-media-marketing-alone
Marketing

ต้องอ่าน 5 เหตุผล ทำไมธุรกิจไม่ควรพึ่ง Social Media Marketing เพียงอย่างเดียว

ธุรกิจส่วนใหญ่ทุกวันนี้พาตัวเองเข้าไปอยู่ใน Social Media เพื่อสร้างตัวเองให้เจอกับผู้คนหมู่มาก ที่มีผู้คนที่สามารถเป็น “ลูกค้า” ของพวกเขาด้วย ได้รู้จักตัวธุรกิจและสินค้าหรือบริการที่ผลิตขึ้นมา ซึ่งทุกวันนี้ต่อยอดไปจนกระทั่งทำการซื้อขายกันบนแพลตฟอร์มนั้นเลย ทั้งหมดนี้รวมๆ เรียกว่า “การตลาดโซเชียลมีเดีย” หรือ Social Media Marketing แต่ถึงดีอย่างที่เล่ามา ธุรกิจที่อยากประสบความสำเร็จบนตลาดออนไลน์ ไม่ควรพึ่งพา Social Media เป็นช่องทางเดียวในการทำการตลาดหรือสร้างธุรกิจให้เติบโต เพราะอะไร? บทความนี้ WOW