ระบบ E-Learning เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น สถาบันการศึกษาหลายแห่งหันมาปรับการเรียนการสอนอยู่ในพื้นที่ออนไลน์มากขึ้น และมาพีคสุดๆ ในปีที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่หรือ โควิด-19 (COVID-19) ที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกถูกจำกัดบริเวณ ไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ รวมถึงการไปเรียนหรือสอนหนังสือที่โรงเรียนด้วย
โชคดีที่ว่า E-Learning ไม่ใช่เรื่องใหม่ จึงไม่ต้องรอเวลาพัฒนาเพื่อใช้งาน ทุกคนก็สามารถเข้าถึงระบบการสอนออนไลน์ได้แทบทันทีหากมีอุปกรณ์และระบบอินเตอร์เน็ตอยูในมือ
อีกทั้ง ระบบการเรียนออนไลน์ยังมีหลายรูปแบบให้เลือก วันนี้ WOW จึงมาเปรียบเทียบระบบ E Learning ซึ่งอยู่ 4 แบบหลักๆ ในปัจจุบันให้ดูว่า มีรูปแบบไหนบ้าง และสถาบันการศึกษาหรือผู้เรียนควรเลือก ทำ e learning แบบไหน ถึงจะเข้ากับตัวเองที่สุด
ระบบ E Learning คือ อะไร และ LMS คือ อะไร?
LMS ย่อมาจาก Learning management System คือ แอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์เพื่อการเรียนหรือการฝึกฝน ระบบสามารถทำได้ทั้งบริหาร จัดทำเอกสาร ติดตามผล รายงาน
ที่สำคัญคือ นำเสนอคอร์สเรียนให้กับผู้เรียนได้ LMS ส่วนใหญ่สามารถจัดการข้อมูลได้ทุกรูปแบบ เช่น วิดีโอ คอร์สเรียน และเอกสาร
อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน หากเราพูดถึง E Learning จะไม่เท่ากับ LMS เพราะ e learning หมายถึง การเรียนออนไลน์ ซึ่งจะเกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มออนไลน์ใดก็ได้ แต่ LMS จะเป็นแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษาโดยเฉพาะ
หมายความว่า LMS อยู่ในระบบ e learning ทั้งหมด ทีนี้เรามาดูข้อมูลของแต่ละระบบอย่างละเอียดกันว่าแต่ละแบบเป็นอย่างไร และมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง
อ่าน : เว็บที่ดี เว็บสวย หน้าตายังไง? เว็บไซต์เราต่างจากคู่แข่งได้อย่างไร?
4 ทางเลือก ระบบเรียนออนไลน์ E-Learning
1. ระบบ Learning Management Systems (LMS)
Learning Management Systems (LMS) เป็น ทางเลือกหรือรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่คนนิยมใช้มากที่สุด ผู้สอนและผู้เรียนสามารถใช้งาน LMS ได้เสมือนเป็นห้องเรียนจริงๆ เลย ทั้งการเปิดคลาสอภิปรายในชั้นเรียน อัพโหลดไฟล์การอ่าน แสดงคลิปวิดีโอหรือเล่นคลิปเสียง รวมถึงประเมินการเรียนหรือประกาศผลการสอบก็ทำได้หมด
ระบบ LMS ยังสามารถเก็บไฟล์การเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น ไฟล์ MS Office วิดีโอ หรือแม้แต่แอปพลิเคชัน และส่งต่อไปหาบุคคลอื่นได้ เมื่อพูดถึงความกว้างขวางของแพลตฟอร์มประเภทนี้ก็เป็นระบบให้คนใช้งานได้พร้อมกันหลายคนได้
ทางเจ้าของแพลตฟอร์มยังเลือกได้ว่าจะเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ที่ใดที่หนึ่ง เช่น โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา หรือเก็บไว้บนระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบ Cloud ซึ่งทางเลือกอย่างหลังก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในเวลานี้
ฟีเจอร์หลักหรือมาตรฐานของ LMS โดยทั่วไป
- ระบบเก็บข้อมูลเชิงสถิติเพื่อประเมินและสรุปเป็นรายงาน (Analytics)
- แอปพลิเคชัน
- ระบบส่งงาน/การบ้าน (Assignment)
- พื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรืออภิปราย (Forum)
- พื้นที่อัพโหลด/ดาวน์โหลดไฟล์
- ระบบให้คะแนน (Grading)
- ระบบส่งข้อความอัตโนมัติ
- ปฏิทินออนไลน์
- ข่าวสารและการประกาศออนไลน์
- การสอบออนไลน์ (Quiz)
- สารานุกรมออนไลน์
- ระบบเชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดีย (Social Media Widgets)
ฟีเจอร์ที่น่าสนใจในระบบ LMS ที่น่าพูดถึง เช่น
- พื้นที่อภิปราย : ชั้นเรียนที่ต้องการสร้างพื้นที่เพื่อตอบคำถามของคนในชั้นเรียน อาจจะเป็นคำถามทั่วไปหรือคำถามเกี่ยวกับวิชาเรียน ก็สามารถสร้างพื้นที่ได้ที่นี่
นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับหัวข้อการเรียน หรือพบปะกันระหว่างผู้เรียนก็ได้ด้วย
อาจเรียกได้ว่าฟีเจอร์นี้เป็นพื้นที่ที่มีประโยชน์เชิงการเรียนและการใช้ชีวิต(ในสังคม)ในเวลาเดียวกัน - ห้องสนทนา : นักเรียนสามารถใช้ช่องทางนี้ตอบโต้พูดคุยทันที (Real time) กับผู้สอนในเวลาที่ทางสถาบันกำหนดได้ ซึ่งช่วยลดข้อด้อยของการเรียนการสอนออนไลน์ ที่มักถูกมองว่าไม่ค่อยมีชีวิตชีวาหรือโต้ตอบไม่ทันใจเท่าการเรียนต่อหน้า (Offline Class)
- กลุ่มย่อยในห้องเรียน : ระบบ LMS สามารถสร้างกลุ่มย่อยในชั้นเรียน เพื่อแบ่งปันไฟล์ อภิปรายเนื้องาน และมีพื้นที่ทำงานร่วมกัน ตามปกติแล้ว อาจารย์หรือผู้ดูแลพื้นที่สอนหนังสือออนไลน์จะเป็นคนสร้างกลุ่มขึ้นมาและให้วิธีเข้าใช้กับนักเรียน
เรื่องจริงของ LMS ที่ควรเข้าใจก่อนใช้
ระบบ LMS มีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนหลายอย่าง แต่ผู้สอนและผู้เรียนต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ระบบ LMS เป็น เครื่องมือสำหรับการเรียน ไม่ใช่การเรียนหรือวิชาความรู้ ต้องมีบุคลากรเป็นคนที่เป็นผู้ออกแบบเนื้อหาและนำเนื้อหาไปใส่ในระบบ เปิดชั้นเรียนและดำเนินการเรียนการสอน
และการสอบผ่าน LMS ระบบ LMS ยังมีแตกย่อยออกมาอีกหลายประเภท ซึ่ง WOW จะมาเล่าให้ฟังแบบลงรายละเอียดในโอกาสต่อไป
แต่โดยรวมแล้ว หากสถาบันไหนที่มีแผนสร้างชั้นเรียนออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ระบบ LMS ก็เป็นทางเลือกที่มีฟังก์ชั่นครบครัน หากเลือกใช้จริงๆ ก็แนะนำให้พิจารณาปัจจัยเหล่านี้ควบคู่ด้วย
- ค่าใช้จ่ายการสร้างระบบ การดูแล
- ความง่ายยากในการใช้
- บริษัทผู้พัฒนาระบบ LMS เช่น ความน่าเชื่อถือขององค์กร portfolio การสร้างเว็บฯ ต่างๆ ที่ผ่านมา ฯลฯ
- รูปลักษณ์ของเว็บฯ หน้าตาเป็นอย่างไร เห็นแล้วรู้สึกอย่างไร
- ความสามารถของระบบ LMS ในการเชื่อมต่อกับระบบข้อมูลที่ทางสถาบันใช้อยู่ ว่าเชื่อมต่อหรือถ่ายโอนข้อมูลไปหาได้หรือไม่
- รูปแบบการรองรับสื่อการเรียนของระบบ เช่น ไลฟ์การสอน ออกแบบคอร์สเรียน หรือตัวระบบรองรับการอัพเกรดในอนาคตหรือไม่ (ซึ่งอย่างหลังเป็นเรื่องสำคัญมาก)
2. แอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียทั่วไปและเพื่อการศึกษาโดยตรง
โซเชียลมีเดีย หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นแอปพลิเคชันที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด เพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การสื่อสารเป็นไปได้โดยง่าย จึงมีผู้ใช้เครือข่ายโซเชียลมีเดียนี้เองเป็นทางเลือกแทน LMS หรืออาจจะเป็นแอพฯ โซเชียลมีเดียเพื่อการศึกษาโดยตรงอย่าง Edmodo โดยเหตุผลที่หลายสถาบันเลือกใช้โซเชียลมีเดียเป็นสื่อการสอนคือ
- ค่าใช้จ่ายที่ถูกหรือฟรีไปเลย
- เป็นสื่อโซเชียลฯ ที่เน้นว่าเพื่อการศึกษา
- ไม่ต้องมีอินเตอร์เน็ตที่ความเร็วสูงหรือเสถียรมากก็ใช้งานได้
- ใช้ง่ายเพราะหน้าตาแอพฯ ที่คล้ายกับโซเชียลมีเดียทั่วไป
หลายโรงเรียนที่เพิ่งหันมาเปิดคลาสออนไลน์หรืออยากชิมลางการสร้างชั้นเรียนออนไลน์อาจใช้วิธีนี้เป็นการทดลองในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และรูปแบบนี้อาจจะเหมาะกับเฉพาะคลาสเรียนที่ไม่ได้ต้องการการป้องกันข้อมูลการเรียนรั่วไหลเท่านั้น
3. แอปพลิเคชันพูดคุยหรือประชุม
ระบบประชุมออนไลน์ เป็นทางเลือกการเรียนการสอนที่ได้รับความนิยมเช่นกัน อาจจะมากกว่าแอพฯ โซเชียลมีเดียทั่วไปด้วยเพราะแอพฯ ประชุมโดยเฉพาะส่วนใหญ่จะสามารถรวมตัวผู้ประชุมได้มากถึงขั้นร้อยๆ คน แชร์ข้อความหรือหน้าจอ และจัดการรายงานหน้าชั้นเรียนได้เสมือนจริง
แอพฯ จัดการประชุมเหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ใช้แอพฯ ต่างๆ คล่องแคล่วในระดับหนึ่งแล้ว หรือทางโรงเรียนต้องการจัดชั้นเรียนออนไลน์ที่เหมือนชั้นเรียนปกติในเวลาเร่งด่วน แต่ก็มีข้อควรคำนึงบางอย่างสำหรับคนที่คิดใช้แอพฯ เหล่านี้ เช่น
- กลุ่มผู้ใช้งานเป็นใคร พวกเขาอยู่ที่ไหน มีความจำเป็นต้องใช้แอพฯ เหล่านี้มากแค่ไหน
- ระยะเวลาในการเรียนออนไลน์ ต้องเรียนออนไลน์ไปตลอดหรือไม่
- ความต้องการความปลอดภัยของข้อมูล หากทางสถาบันเป็นห่วงเรื่องข้อมูลการสอนรั่วไหล อาจต้องพิจารณาการใช้งานแอพฯ ให้รอบคอบ
4. โทรทางอินเตอร์เน็ต
ทางเลือกสำหรับการ E-Learning ทางสุดท้าย คือ การโทรทางอินเตอร์เน็ต วิธีนี้อาจจะเป็นสูตรการทำ E-Learning แบบดั้งเดิมก็ว่าได้ และยังนับว่าเป็นทางเลือกสำหรับการเรียนการสอนได้อยู่จนถึงทุกวันนี้ เพราะมีการเผยแพร่ความรู้ การเรียนรู้ และทำจากที่ไหนก็ได้ของโลกผ่านแอปพลิเคชัน เช่น Skype, Google Hangouts เป็นต้น
วิธีนี้ได้รับความนิยมในหมู่การเรียนการสอนแบบตัวต่อตัว เช่น ติวเตอร์รายบุคคล เพราะเหมือนกับการคุยโทรศัพท์กันแต่มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่ามาก
แต่หากต้องการแชร์ภาพ สไลด์ หรือส่งการบ้าน การโทรทางอินเตอร์เน็ตอาจไม่ครอบคลุมกิจกรรมในห้องเรียนออนไลน์ที่สำคัญแบบนี้ หรือหากต้องการพัฒนาธุรกิจเป็นโรงเรียนก็อาจต้องปรับไปใช้วิธีอื่นแทน
เลือกวิธี E-Learning แบบไหน ถึงใช่สำหรับเรา
การเลือกระบบ E-Learning ที่ใช่สำหรับองค์กรและผู้เรียน ต้องพิจารณาจากปัจจัยหลายอย่างที่ระบบแต่ละแบบมีว่าตรงกับความต้องการของผู้สอนหรือผู้เรียนหรือไม่ โดยให้เราดูที่เนื้อหาการเรียนการสอน เพราะเนื้อหาเหล่านี้จะสอดคล้อง(หรือควรจะสอดคล้อง)กับประเภทของระบบ E-Learning
พอทราบว่าเนื้อหาเป็นแบบใดก็จะทราบวิธีการเรียนการสอนไปด้วย ลักษณะของเนื้อหาที่มักพบในระบบ E Learning ได้แก่
- เนื้อหาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- เนื้อหาที่ดึงดูดความสนใจของผู้เรียนหรือกระตุ้นการเรียนรู้
- เนื้อหาที่ต้องตอบโต้กันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
- เนื้อหาที่จัดทำพิเศษตามความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน
WOW ส่งท้าย
แนวโน้มของสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมของโลกในปัจจุบันผนวกกับระดับการพัฒนาของเทคโนโลยีที่หมุนไปข้างหน้าเรื่อยๆ สะท้อนให้เห็นว่า E-Learning เป็นเรื่องจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ และในวันหนึ่งอาจกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนตัวระบบการเรียนออนไลน์ก็มีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาเสมอ
จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้เรียนและผู้สอนจะทำความรู้จักคุ้นเคยกับระบบเรียนออนไลน์ให้เร็วที่สุด ซึ่งที่ WOW เปิดบริการรับทำเว็บไซต์ LMS เพื่อการจัดทำชั้นเรียนออนไลน์แล้ว สามารถสอบถามข้อมูลรายละเอียดหรือปรึกษาเพิ่มเติมก่อนเลือกใช้จริงได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ตอนนี้ เพิ่มโอกาสการเรียนรู้และสร้างมูลค่าเพิ่มที่สร้างสรรค์ในธุรกิจเพื่อการศึกษาของโลกอนาคต
อ้างอิง :