Google Analytics คือ อะไร? ทำไมทำเว็บไซต์ต้องรู้ด้วย? Google Analytics ใช้ยากจัง? หากคนทำเว็บไซต์จะมีคำถามนี้ในใจบ้าง ก็เป็นเรื่องปกติ เพราะ Google Analytics เป็นระบบที่ประเมินประมวลผลข้อมูลหลายส่วนของเว็บไซต์
แต่ถึงดูซับซ้อน ก็ไม่ยากที่จะทำความเข้าใจเช่นกัน บทความ WOW วันนี้พามารู้จัก Google Analytics ทีละขั้นตอน อยากรู้ข้อมูลนี้ต้องคลิกดูอย่างไร? Google จะอัพเดตข้อมูลเว็บไซต์ใหม่เข้าสู่ระบบอย่างไร? มาเรียนรู้พร้อมกันกับ WOW เลย
Google Analytics คือ อะไร?
Google Analytics (GA) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์เว็บไซต์ฟรีที่พัฒนาโดย google เพื่อช่วยให้ผู้สร้างเว็บฯ ประเมินการทำงานและเนื้อหาที่อยู่บนเว็บไซต์ของตัวเอง และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้ถูกทาง
GA ใช้ฟรีไหม?
Google Analytics มีทั้งแบบที่ใช้ฟรีและเสียเงิน เว็บไซต์ระดับบุคคลทั่วไปและบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) ใช้ GA แบบฟรีก็ได้ข้อมูลที่เพียงพอแล้ว แต่สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่ทำเว็บไซต์ อาจจะต้องใช้รูปแบบเสียเงิน ซึ่งจะมีสรุปรายงานการทำงานของเว็บไซต์ในเชิงลึกมากกว่า และไม่จำกัดข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้งานเว็บฯ ด้วย
Google Analytics วิธีใช้ ใช้ยังไง?
วิธีการทำงานของ Google Analytics คือระบบใส่โค้ดติดตามโค้ดเว็บไซต์ เพื่อบันทึกกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ของเรา เช่น มีผู้เข้าชมเท่าไหร่ ผู้เข้าชมเข้ามาผ่านทางช่องทางไหน ผู้เข้าชมเป็นใครเพศอะไรอายุเท่าไหร่ ผู้เข้าชมทำอะไรกับเว็บไซต์บ้าง ฯลฯ โดยผู้ที่มีเว็บไซต์สามารถเปิดใช้ Google Analytics ได้ตามวิธีดังนี้
- สร้างบัญชี (Account) ขึ้นมา (ถ้ายังไม่มี) คลิกสมัคร Google analytics ได้ที่นี่
- ใส่ชื่อ, URL หรือลิงค์เว็บฯ ที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูล และประเภทของเว็บไซต์นั้น
- จะได้โค้ดที่จะอนุญาตให้เราวิเคราะห์ติดตามเว็บฯ ได้
- ใส่โค้ดนี้หลังจากแท็ก <head> ของเว็บไซต์
- เปิด Google Analytics ขึ้นมา ซึ่งจะเห็นหน้าแรกแบบนี้
ส่วนประกอบของ Google Analytics
ส่วนที่ผู้ใช้งานจะได้เข้าดูข้อมูลใน Google Analytics บ่อยๆคือ Reports ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 หัวข้อย่อย ได้แก่
1. Realtime
Realtime คือ การแสดงผลการใช้งานจริง ณ เวลาที่เราเข้าดู Google Analytics เลย ส่วนมากแล้ว เราดูแค่ตรง Overview ก็จะทราบภาพรวมของการใช้งานเว็บไซต์ในตอนนั้น เช่น
- มีคนใช้งานเว็บเราเท่าไหร่
- ใช้งานผ่านเครื่องมือประเภทไหน
- เข้าหน้าเว็บเพจใดอยู่
- ใช้เวลากับหน้าเว็บเพจนานแค่ไหน
2. Audience
Audience คือ ข้อมูลผู้เข้าชมเว็บไซต์ของเราอย่างละเอียดมากขึ้น เช่น
- ผู้ใช้งานเว็บฯ ของเรามีกี่คน
- เป็นผู้ใช้งานใหม่กี่คน
- เข้าเว็บไซต์กี่ครั้ง (จำนวนตัวเลขจริงและค่าเฉลี่ยต่อคน)
3. Acquisition
Acquisition คือ ข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางที่ผู้คนเข้ามาถึงเว็บฯ ของเรา รายละเอียดที่ควรดูในหมวดหมู่นี้ เช่น
- Organic Search คือ การที่ผู้คนพิมพ์ค้นหาบางอย่างใน Google แล้วเจอเว็บฯ ของเรา แล้วคลิกเข้ามาในเว็บฯ
- Direct คือ การที่ผู้คนพิมพ์ชื่อเว็บฯ ของเราตรงๆ ลงบน Browser เพื่อเข้ามาหาเว็บฯ ของเรา
- Social คือ การที่ผู้คนพบลิงค์เว็บฯ ของเราทางช่องทางโซเชียลมีเดียและคลิกเข้ามา
- Search Console -> Queries คือ คำค้นหาที่ผู้คนพิมพ์ใน Google แล้วเจอเรา ซึ่งจะมีข้อมูลบอกด้วยว่า คนคลิกเข้ามากี่ครั้ง มีคนเห็นเท่าไหร่ ซึ่งเจ้าของเว็บสามารถวิเคราะห์ได้ว่า เป็นคำค้นที่มาจากกลุ่มเป้าหมายของเราจริงไหม ถ้าการมองเห็นเยอะแต่การคลิกน้อย แสดงว่าควรปรับเปลี่ยนอะไรหรือเปล่า ซึ่งข้อมูลที่ปรับเปลี่ยนได้ส่วนนี้คือ ชื่อเรื่องเว็บฯ (Title) คำอธิบายเว็บฯ (Meta Description) และภาพประกอบ (Feature Image)
4. Behavior
Behavior คือ ข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานของผู้คนที่เข้ามาในเว็บฯ ผู้เข้าชมเข้ามาที่เว็บฯ จากหน้าเว็บเพจอะไร การอยู่และไปจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง ในหน้าเว็บเพจนั้นผู้ใช้งานทำอะไรบ้าง คลิกลิ้งค์หรือคลิกดูวิดีโอหรือไม่ ฯลฯ ส่วนมากแล้ว จะใช้ข้อมูล Behavior ดูและวิเคราะห์จุดบกพร่องของเว็บไซต์
5. Conversion
Conversion คือ เหตุการณ์ที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ เมื่อเข้ามาแล้วได้กระทำการบางอย่างตามเป้าหมายที่ผู้พัฒนาเว็บฯ ตั้งไว้ เช่น การลงชื่อและอีเมลเพื่อสมัครรับข้อมูล การคลิกเพื่อสอบถามข้อมูลกับโปรแกรมแชท เป็นต้น
หลายบริษัทให้ความสำคัญกับข้อมูล Conversion ของเว็บฯ มากกว่ายอดผู้เข้าชมเว็บฯ โดยเฉพาะบริษัทที่ใช้เว็บไซต์เป็นช่องทางการขายสินค้าหรือบริการ หรือทำการตลาดบนเว็บไซต์ อย่างไรก็ตาม ค่า Conversion จะแสดงใน Google Analytics ก็ต่อเมื่อได้ทำการตั้ง Goal (เป้าหมาย) ใน Google Analytics แล้ว
Image Credit : online-metrics.com
Google อัพเดทเว็บไซต์ใหม่ หรือหน้าเว็บเพจใหม่ เข้าระบบค้นหาอย่างไรและเมื่อไหร่?
Google มีระบบที่เรียกว่า Crawling และ Indexing ซึ่งจะทำควบคู่กัน Crawling คือ การคืบคลานเข้าไปเจอเว็บฯ หรือหน้าเว็บเพจต่างๆ เมื่อคลานเข้าไปเจอแล้วก็จะจัดเข้าระบบค้นหา (Indexing) นั่นเอง ซึ่งส่วนมากจะใช้เวลาประมาณ 4 วัน – 6 เดือน เลยทีเดียว ขึ้นอยู่กับการทำ SEO ในเว็บไซต์ และการส่งเว็บฯ ให้ Google รู้ ผ่าน Google Search Console (คลิกได้ที่นี่)
WOW เคยอธิบายเรื่องการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์แบบง่ายๆ ไปในบทความก่อนหน้านี้แล้ว จึงจะมาเล่าที่ส่วนของการส่งเว็บฯ ให้ Google รู้ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบให้เห็นภาพแล้วเหมือนการแซงคิวเพื่อนเพื่อส่งการบ้านคุณครู ต่างกันที่ว่าครู Google จะยอมรับการแซงคิวส่งการบ้านโดยไม่ทำโทษนักเรียนแต่อย่างใด
WOW ส่งท้าย
ระบบ Google Analytics อาจจะซับซ้อน มีเรื่องให้เข้าใจหลายอย่างในช่วงแรก แต่พอเริ่มคุ้นชิน การใช้งานก็จะง่ายขึ้น แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือ ช่วยให้การพัฒนาเว็บไซต์เป็นไปอย่างถูกจุด ตรงตามเป้าหมายกว่าการไม่ใช้ Google Analytics อย่างชัดเจน
แต่ทุกความสำเร็จต้องเริ่มจากการมีรากฐานที่ดีและมั่นคง ถ้าอยากสร้างเว็บไซต์ระบบดีเพื่อการใช้งานที่ดูมืออาชีพหรือใช้ทำธุรกิจได้ ปรึกษา WOW ได้ฟรี เพราะเราเน้นสร้างเว็บไซต์ที่ลดรายจ่ายด้วยการเน้นใช้ระบบทำงาน เพิ่มรายได้ และสร้างกำไร ทำครั้งเดียวไม่เสียเงินหรือเสียเวลาซ้ำซ้อนแน่นอน
อ้างอิง :