Travel Bubble จับมือเที่ยวช่วงโควิด คืออะไรและประเทศไหนทำบ้าง?

ภาวะต่างคนต่างอยู่ ไม่มีการแลกเปลี่ยนเดินทางหากันข้ามพรมแดนหรือข้ามประเทศ ไม่ใช่เรื่องที่ดีสำหรับการใช้ชีวิตในระยะยาว  ช่วงล็อกดาวน์ (Lockdown) การเดินทาง ชาติต่างๆ จึงคิดหาหนทางกัน และกลายเป็นที่มาของแผนการท่องเที่ยวเฉพาะบางประเทศแบบมีข้อตกลง หรือ Travel Bubble ล่าสุด ตั้งแต่ช่วง เม.ย. 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับช่วงที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาหรือ โควิด-19 เข้าสู่ภาวะซาลง WOW วันนี้จะมาเล่าประเด็นของ Travel Bubble ที่น่าสนใจและน่าศึกษากันไว้ตั้งแต่ตอนนี้ รวมถึงสรุปแพ็คเกจ “ไทยเที่ยวไทย” ทั้ง 3 แพ็คล่าสุดด้วย

Travel Bubble คืออะไร ทดแทนการท่องเที่ยวปกติในช่วงนี้?

Travel Bubble คือ ข้อตกลงระหว่างประเทศให้จัดการเดินทางหรือท่องเที่ยวระหว่างกันได้ ข้อตกลงจะระบุประเทศที่อยู่ในข้อตกลงเงื่อนไขการกักตัวหรือไม่ต้องกักตัวเพื่อเฝ้าดูอาการ (Quarantine) เป็นต้น โดยจุดประสงค์ของการทำTravel Bubble ก็เพื่อหาตัวช่วยอย่างเร่งด่วนให้การท่องเที่ยวของประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อต่ำ และค่อนข้างมีความสามารถในการควบคุมจำนวนหรือวงการแพร่กระจายผู้ติดเชื้อโควิดได้

ส่วนที่มาของชื่อมาจากลักษณะการเดินทางที่เปิดกว้างแต่ก็จำกัดในเวลาเดียวกัน จึงคล้ายกับฟองสบู่ที่ปกป้องสิ่งที่อยู่ข้างในแต่ก็ป้องกันสิ่งที่อยู่ด้านนอกด้วย จึงเป็นที่มาของคำว่าTravel Bubble

ซึ่งในอนาคต อีกคำศัพท์หนึ่งที่น่าสนใจคือ Air Bridge ที่คล้ายกับTravel Bubble ต่างกันตรงที่ประเทศที่ทำข้อตกลงเดินทางหาสู่กันแต่ไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ใกล้กัน

travel bubble, ท่องเที่ยวฟองสบู่, แผนฟื้นการท่องเที่ยว, ธุรกิจช่วงโควิด

แผนทำTravel Bubble ของต่างประเทศ

  • ออสเตรเลียกับนิวซีแลนด์ มีแผนจะทำ Bubble กัน (นายกรัฐมนตรี จาซินดา อาร์เดิร์น ของนิวซีแลนด์ เผยแนวโน้มว่าอาจจะเริ่มประมาณเดือนกันยายน 2563)
  • เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย เป็นกลุ่มประเทศแรกในสหภาพยุโรปที่ตกลงให้เดินทางระหว่างกันได้แล้ว ต่อมาทั้งสามประเทศยังเปิดให้อีก 24 ประเทศในทวีปยุโรปเข้ามาได้ ประเทศเหล่านี้ ได้แก่ ออสเตรีย บัลแกเรีย เนเธอร์แลนด์ โครเอเชีย ไอซ์แลนด์ อิตาลี กรีซ ไซปรัซ ลิทัวเนีย ลิกเท็นสไตน์ ลักเซ็มเบิร์ก ลัตเวีย นอร์เวย์ โปแลนด์ ฝรั่งเศส โรมาเนีย เยอรมนี สโลวาเกีย สโลเวเนีย สวิตเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ เดนมาร์ก สาธารณรัฐเช็ก และฮังการี
  • เอสโตเนียและลัตเวีย เปิดรับคนเดินทางจากสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) เบลเยี่ยม ไอร์แลนด์ โปรตุเกส มอลตา และ สเปน ด้วย ยกเว้นลิทัวเนียที่รับแค่ไอร์แลนด์ มอลตา และสเปน
  • โครเอเชีย เปิดพรมแดนให้ฮังการี ออสเตรีย สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย โปแลนด์ และเยอรมนี
  • เนเธอร์แลนด์ เปิดพรมแดนให้ประชากรจากเบลเยี่ยม บัลกาเรีย เยอรมนี เอสโตเนีย อิจาลี โครเอเชีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซ็มเบิร์ก โปรตุเกส สโลวาเนีย และสาธารณรัฐเช็ก เข้ามาได้
  • ไซปรัซ เปิดรับผู้เดินทางจากกรีซ มอลตา บัลกาเรีย นอร์เวย์ ออสเตรีย ฟินแลนด์ สโลเวเนีย ฮังการี อิสราเอล เดนมาร์ก เยอรมนี สโลวาเกีย และลิทัวเนีย ส่วนตั้งแต่ 20 มิ.ย. เป็นต้นไป ถึงจะเปิดรับสวิตเซอร์แลนด์ โปแลนด์ โรมาเนีย โครเอเชีย เอสโตเนีย และสาธารณรัฐเช็ก โดยรัฐบาลไซปรัซแถลงใหคำมั่นเป็นลายลักษณ์อักษรว่า หากพบผู้ที่เดินทางเข้ามาแล้วติดเชื้อโควิดระหว่างท่องเที่ยวในไซปรัซ รัฐบาลจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าที่พัก ไปจนถึงค่าอาหารให้กับนักเดินทางคนนั้นด้วย
  • กรีซ เปิดรับนักท่องเที่ยวจาก 29 ประเทศ ในวันที่ 1 ก.ค. โดยไม่ต้องตรวจหาเชื้อหรือกักตัวดูอาหาร ประเทศเหล่านั้นได้แก่ อัลบาเนีย ออสเตรเลีย ออสเตรีย มาเซโดเนียเหนือ บัลแกเรีย เยอรมนี เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ เอสโตเนีย ญี่ปุ่น อิสราเอล จีน โครเอเชีย ไซปรัซ ลัตเวีย เลบานอน นิวซีแลนด์ ลิทัวเนีย มอลตา มอนเตเนโกร นอร์เวย์ เกาหลีใต้ ฮังการี โรมาเนีย เซอร์เบีย สโลวาเกีย สโลเวเนีย สาธารณรัฐเช็ก และฟินแลนด์

travel bubble, ท่องเที่ยวฟองสบู่, แผนฟื้นการท่องเที่ยว, ธุรกิจช่วงโควิด

  • เยอรมนีกับออสเตรีย ตกลงเริ่มเปิดพรมแดนวันที่ 15 มิ.ย. นี้ ส่วนประเทศใกล้เคียง เยอรมนียังขอพิจารณาก่อน
  • อินโดนีเซีย มีแผนเปิดรับนักท่องเที่ยวในช่วงเดือนต.ค. โดยทยอยเปิดทีละพื้นที่ เริ่มจากเกาะบาหลีก่อน แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าจะทำTravel Bubble หรือไม่หรือกับชาติใด แต่ฝ่ายการท่องเที่ยวของบาหลีเคยเสนอให้ทำTravel Bubble กับออสเตรเลียก่อนหน้านี้
  • เม็กซิโก เล็งเปิดรับการเดินทางจากสหรัฐอเมริกาและแคนาดาก่อน โดยยึดจากภูมิภาคเป็นหลัก
  • ตุรกี เล็งเปิดรับนักท่องเที่ยวจากเอเชีย โดยให้จีนและเกาหลีใต้นำร่อง ช่วงกลางมิ.ย. นี้
  • อิตาลี เปิดรับนักเดินทางจากสหภาพยุโรปรวมถึงอังกฤษ และรัฐเล็กๆ เช่น วาติกัน โมนาโก แล้ว โดยยอมรับว่า มีความเสี่ยงแต่เป็นความเสี่ยงที่ประมาณการไว้แล้ว แต่ถ้าไม่ทำอาจจะไม่มีโอกาสเริ่มต้นใหม่อีกแล้ว
  • สเปน จะรับนักเดินทางจากกลุ่มสหภาพยุโรปในวันที่ 1 ก.ค. โดยนายกรัฐมนตรี เปโดร ซานเชส การันตีว่านักท่องเที่ยวไม่อยู่ในความเสี่ยงและพวกเขาไม่ใช่ความเสี่ยงของสเปนด้วยเช่นกัน

travel bubble, ท่องเที่ยวฟองสบู่, แผนฟื้นการท่องเที่ยว, ธุรกิจช่วงโควิด

ไทยคิดยังไงกับ Travel Bubble?

เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 63 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ได้ผลักดันTravel Bubble หรือ การจับคู่ประเทศเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างประเทศที่สามารถจัดการโรคโควิด-19 ได้ดีเท่าๆ กัน โดยที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้เห็นชอบในหลักการแล้ว

ตอนนี้วาระดังกล่าวอยู่ในขั้นของการหารือระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหาข้อสรุปในแนวทางการดำเนินการ เช่น แนวทางการเจรจากับประเทศกลุ่มเป้าหมาย ข้อปฏิบัติต่างๆ รวมถึงการเฝ้าระวังโรคระบาด ก่อนเสนอ ศบค. พิจารณาอีกครั้งในวันพุธที่ 17 มิ.ย.นี้

มาตรการสร้าง Bubble ของไทย?

เบื้องต้น ในระยะแรกทางการจะเปิดรับกลุ่มนักธุรกิจและกลุ่มที่ต้องการเข้ามารักษาพยาบาลในไทยก่อน คาดว่าจะเปิดให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาประมาณวันละ 1,000 คน ซึ่งเมื่อดำเนินการไปสักระยะหนึ่ง แล้วสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดี ก็จะพิจารณาให้นักท่องเที่ยวกลุ่มอื่นเข้ามาตามลำดับ

ทั้งนี้ การเปิดรับนักท่องเที่ยวนี้จะไม่มีการกักตัว 14 วัน แต่มีมาตรการอื่นรองรับ เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัย โดยเริ่มจากการเลือกประเทศกลุ่มเป้าหมายที่มีความปลอดภัย สามารถควบคุมโรคได้ดี

ก่อนออกจากประเทศต้นทาง จะให้ผู้เดินทางตรวจหาเชื้อโควิด-19 ก่อน และตรวจอีกครั้งเมื่อเดินทางถึงไทย อาจกำหนดพื้นที่ซึ่งนักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางไปได้ และมีการติดตามตัวผ่านแอพพลิเคชั่นตลอดเวลาที่อยู่ในเมืองไทย ฯลฯ

เล็งสร้าง Bubble พร้อมหนุนไทยเที่ยวไทย

ก่อนหน้่านี้ ทางการไทยแสดงท่าทีคลุมเครือเกี่ยวกับนโยบายTravel Bubble โดยนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้สัมภาษณ์ล่าสุดว่า จะอนุญาตให้มีการเดินทางระหว่างประเทศที่ไทยทำข้อตกลงด้วย หากสถานการณ์ดีขึ้น แต่ยังไม่มีการทำข้อตกลงใดๆ โดยให้เหตุผลว่า ที่ไม่อนุญาตให้เคลื่อนที่อย่างเสรีเพราะไม่ต้องการให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ซึ่งจะกระทบทั้งประเทศต้นทางและปลายทาง

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข เปิดเผยว่า จะนำเสนอรายละเอียดของ Travel Bubble มารายงานในที่ประชุมครม. ต่อไป

ขณะที่การท่องเที่ยวในประเทศที่เข้าคิวเสนอเป็นวาระต่อไป นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา นำเสนอแผนกระตุ้นการท่องเที่ยวของประเทศด้วยโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” รวมโครงการ “เราไปเที่ยวกัน” และ “เที่ยวปันสุข” เดิม เริ่ม 1 ก.ค. – 31 ต.ค. 2563 โดยเปลี่ยนเป็น 3 สิทธิ ดังนี้

  1. สิทธิที่ 1: รัฐบาลสนับสนุนค่าที่พัก 40% จากค่าห้องพักต่อห้องต่อคืน (แต่ไม่เกิน 3,000 บาท/ห้อง/คืน สูงสุดไม่เกิน 5 คืน)
  2. สิทธิที่ 2: โรงแรมที่พักเสนอขาย E-Voucher  600 บาท ต่อห้องต่อคืน (สูงสุดไม่เกิน 5 คืน) ผ่านแอพพลิเคชัน “เป๋าตัง” เพื่อนำไปใช้จ่ายเป็นค่าอาหารหรือค่าบริการในแหล่งท่องเที่ยวที่ร่วมโครงการ ตั้งแต่วันที่เช็คอินถึงเช็คเอ้าท์จากที่พัก                                             
  3. สิทธิที่3: นักท่องเที่ยวที่จองที่พัก ได้รับสิทธิจองบัตรโดยสารเครื่องบินไป-กลับ ในไทย โดยรัฐสนับสนุนค่าตั๋วเครื่องบิน 40% หรือไม่เกิน 1,000 บาท ได้ 1 คน ต่อ 1 สิทธิ 

โดยสรุปคือ ไม่มีโครงการให้สิทธิบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการรับมือโควิด-19 ที่ผ่านมา ประมาณ 1.2 ล้านคน เที่ยวฟรีผ่านบริษัทนำเที่ยว 13,000 เจ้า แล้ว (รายละเอียดคือ ให้เจ้าหน้าที่รับสิทธิ 1 คน 1 สิทธิ ท่องเที่ยวและดูงานต่างจังหวัดฟรี ในรูปแบบแพ็คเกจท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน มูลค่าไม่เกิน 2,000 บาท คิดเป็นงบประมาณรวม 2,400 ล้านบาท)

 แพ็คเกจทั้งหมดต้องลงทะเบียนผ่านแพลตฟอร์มของธนาคารกรุงไทย ซึ่งทางธนาคารกรุงไทยกำลังดำเนินการจัดทำอยู่ โดย WOW จะมาอัพเดตต่อไป

อ่าน: ธุรกิจโรงแรม จะรอดและไปต่ออย่างไร? เปิดวิธี-กรณีศึกษาช่วงโควิด-19

ทำเว็บไซต์, ทำเว็บโรงแรม

ท่องเที่ยวในฟองสบู่ : ทางสว่างสู่ชีวิตปกติสุขเดิม

“คงต้องใช้เวลาอีกสักพักกว่า ‘พื้นที่ปลอดภัย’ จะเกิดขึ้น แต่ก็จำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้น เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของหนทางหวนกลับ(สู่สภาวะปกติ)” คือ ความคิดเห็นของนายกรัฐมนตรี สก็อต มอร์ริสัน ถึงนโยบาย Travel Bubble กับนิวซีแลนด์ แต่ก็เป็นข้อเท็จจริงทีเข้ากับการท่องเที่ยวของทุกพื้นที่ในขณะนี้ด้วย

เพราะเป็นที่ทราบกันว่า การท่องเที่ยวทั่วโลกจะเข้าสู่สภาวะปกติ 100% ได้ก็ต่อเมื่อมีวัคซีนหรือวิธีการรักษาไวรัสโควิดแล้วและแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง ซึ่งก็คาดว่าเป็นไปได้เร็วที่สุดคือปลายปี 2563

แต่ก่อนจะถึงเวลานั้นก็ต้องมีวิธีแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าเพื่อกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวที่ไม่มีทางเลือกนอกจากยุติกิจกรรมในช่วงเชื้อแพร่ระบาด ภาครัฐต้องหาทางหล่อเลี้ยงให้บุคลากรในอุตสาหกรรมนี้และที่เกี่ยวข้องอยู่ได้ และอยู่รอดจนเป็นกำลังฟื้นฟูการท่องเที่ยวด้วย

เที่ยวแบบ Bubble เป็นไปได้จริงอย่างไร?

ประเทศที่ตัดสินใจทำ Travel Bubble ต้องมีความมั่นใจในชาติตัวเองและชาติคู่สัญญา จากนั้นต้องช่วยกันสร้างมาตรการดูแลสุขภาพอย่างเข้มงวดซึ่งต้องใช้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วนตั้งแต่คณะกรรมการท่องเที่ยวของรัฐและเอกชน สายการบิน การขนส่ง ไปจนถึงท้องถิ่นที่ใกล้ชิดนักท่องเที่ยวที่สุด

ซึ่งมาตรการที่มีแผนรองรับที่ดีและรัดกุมจะทำให้การท่องเที่ยวดำเนินไปได้ และพร้อมระงับเพื่อควบคุมโรคได้อย่างทันท่วงที หากการแพร่ระบาดเกิดขึ้นใน Bubble นี้

travel bubble, ท่องเที่ยวฟองสบู่, แผนฟื้นการท่องเที่ยว, ธุรกิจช่วงโควิด

WOW ส่งท้าย

ด้วยศักยภาพทางการแพทย์ของประเทศ และจิตสำนึกกับความตระหนักรู้ต่อโควิดของคนไทยส่วนมาก Travel Bubbleเป็นนโยบายน่าสนใจที่มีแนวโน้มเข้ากับไทยได้ ซึ่งด้วยสไตล์การออกนโยบายแบบฉับพลันของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ภาระการเตรียมพร้อมจึงตกอยู่กับภาคเอกชนเป็นส่วนใหญ่

ซึ่งหากมองให้เป็นข้อดี นี่เป็นวิธีฝึกรับมือสถานการณ์เฉพาะหน้า ที่ธรรมชาติของมันคือเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การเตรียมพร้อมและปรับตัวของภาคธุรกิจเป็นเรื่องสำคัญ WOW ขอเป็นกำลังใจให้กับการปรับตัวในสถานการณ์น่าติดตามช่วงนี้และพร้อมเป็นที่ปรึกษาด้านธุรกิจโดยเฉพาะการทำเว็บไซต์ที่เชี่ยวชาญพิเศษด้านเว็บเพื่อการท่องเที่ยวอย่างโรงแรม ทัวร์ ฯลฯ เรารับปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อให้ทุกคนพร้อมสำหรับธุรกิจที่กำลังเริ่มต้นใหม่อีกครั้งเร็วๆ นี้

อยากทำเว็บไซต์ธุรกิจที่ช่วยสร้างยอดขายได้จริง ปรึกษา WOW ฟรีที่นี่

รับบทความใหม่ ไปอ่านก่อนใครไหม?

ทำธุรกิจออนไลน์ด้วยความรู้อัปเดต เข้าใจง่าย ได้ยอดขายดีจริงๆ กันดีกว่า!

บทความน่าอ่านในหมวดเดียวกัน

online-learning-drm-solutions
e-Learning

DRM (การจัดการสิทธิ์ดิจิทัล) ในระบบการเรียนการสอนออนไลน์

DRM (การจัดการสิทธิ์ดิจิทัล) ในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ การจัดการสิทธิ์ดิจิทัล (Digital Rights Management – DRM) เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการเข้าถึงและการกระจายเนื้อหาดิจิทัล เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, วิดีโอ, และเพลง เพื่อป้องกันการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต ในยุคที่เนื้อหาดิจิทัลสามารถถูกคัดลอกและแชร์ได้อย่างง่ายดาย การใช้ DRM จึงมีความสำคัญมากขึ้นเพื่อรักษาสิทธิ์และผลประโยชน์ของผู้สร้างเนื้อหา รวมถึงการสร้างรายได้ที่ยั่งยืน ความหมายของ DRM DRM คือการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อป้องกันและควบคุมการใช้งานเนื้อหาดิจิทัล โดยการจำกัดการคัดลอก,

Management

Work From Home แบบคูลๆ! 9 ทิปส์ใช้ Zoom วิดีโอคอล ได้คล่องและสนุก!

สำหรับคนที่ทำงานที่บ้านหรือ Work From Home ไม่ว่าจะทำเป็นประจำอยู่แล้วหรือต้องปรับโหมดมาทำงานที่บ้านด้วยสภาวะจำเป็น เช่น หลีกเลี่ยงโรคระบาด เกิดเหตุจลาจล น้ำท่วม ฯลฯ  วิธี “ประชุมทางวิดีโอ” หรือ วิดีโอคอล ก็มักเป็นหนึ่งในสิ่งที่ได้รับการหยิบยกมาใช้กัน หลายบริษัทมักใช้โปรแกรม วิดีโอคอล กันเป็นปกติอยู่แล้ว แต่โปรแกรมที่เป็นที่พูดถึงในแวดวงคนทำงานอย่างมากในช่วงเวลานี้คือ Zoom (ซูม) เหตุผลหลักที่คนให้ความสนใจพูดถึงและเลือกใช้ Zoom กันมากเป็นพิเศษเป็นเพราะ Zoom