20 เรื่องผิดพลาดของเว็บโรงแรม ที่ทำให้แพ้เว็บรวมที่พักหรือ OTA!

ทุกวันนี้ เวลานักท่องเที่ยวหรือนักเดินทางต้องการจองที่พักหรือโรงแรม ส่วนมากแล้วก็มักจะเลือกเข้าเว็บรวมที่พักหรือ OTA มากกว่า เว็บโรงแรม

เพราะมีตัวเลือกห้องพักมากกว่าในโลเคชั่นเดียว มีส่วนลดพิเศษจาก OTA  และเหตุผลต่างๆ อีกมากมาย ที่ทำให้ OTA เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากกว่าสำหรับนักท่องเที่ยวเวลาจองห้องพัก

ดังนั้น กว่าจะได้เงินมาแต่ละบาท โรงแรมที่พักไม่เพียงแต่ต้องสู้กับโรงแรมด้วยกันเอง แต่ยังต้องสู้กับเอเจนท์เว็บจองห้องพักและบริการการท่องเที่ยวหรือ OTA อีก 

โรงแรมจึงต้องทำให้เว็บไซต์ดึงดูดกลุ่มเป้าหมายและลูกค้าให้มากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ้าของหรือผู้บริหารโรงแรมรู้กันดีอยู่แล้ว

แต่ในทางกลับกัน โรงแรมรู้หรือไม่ว่า อะไรที่เป็นข้อผิดพลาดที่ควรระวัง ที่จะตัดโอกาสการขาย ผลักให้คนปิดหน้าจอก่อนจะเป็นลูกค้าของคุณ?

ถ้ายังไม่รู้ บทความนี้มีเฉลยว่า เรื่องพลาดๆ อะไรบ้างที่ทำให้ เว็บโรงแรม ไม่ชนะใจลูกค้าของตัวเอง!

1. เว็บโหลดนานเกินไป

เว็บโรงแรม, จ้างทำเว็บไซต์ ที่ไหนดี, ระบบจองห้องพัก, โปรแกรมจองห้องพัก, รับทำเว็บไซต์ เชียงใหม่, ระบบจองโรงแรม

ความเร็วการโหลดเว็บไซต์ ไม่ใช่แค่มีผลต่อ SEO เท่านั้น แต่ยังมีผลต่อเว็บไซต์เพื่องานขายด้วย

เพราะทุกๆ วินาทีที่เว็บไซต์ใช้เวลาดาวน์โหลด คือ วินาทีที่คนเข้าเว็บไซต์ตัดสินใจปิดหน้าเว็บ (Bounce rate) และเพิ่มความไม่พอใจจนกลายเป็นภาพจำที่ไม่ดีของผู้ใช้งาน

มาตรฐานที่ Google แนะนำไว้ สำหรับการโหลดเว็บครั้งแรก คือ ไม่เกิน 3 วินาที ขณะที่ เว็บ OTA อย่าง Booking.com เฉลี่ยแล้วใช้เวลา 4 วินาที ในการแสดงผลหน้าจอเว็บไซต์ให้ผู้ใช้งาน

หากเทียบกับมาตรฐานทั่วไปกับคู่แข่งรายใหญ่ ถ้าอยากให้เว็บไซต์ของตัวเองมีผลตอบรับที่ดี เวลา ทำเว็บโรงแรม คุณต้องทำเว็บให้แสดงผลบนหน้าจอทุกประเภท ทั้งคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ภายใน 4 วินาที ไม่เกินจากนี้ ซึ่งมีเครื่องมือที่สามารถวัดได้ ใกล้ตัวที่สุดและแม่นยำที่สุด คือ Page Speed Insights ของ Google ค่ะ

2. Call to Action ที่ไม่ชัดเจน

เว็บโรงแรม, จ้างทำเว็บไซต์ ที่ไหนดี, ระบบจองห้องพัก, โปรแกรมจองห้องพัก, รับทำเว็บไซต์ เชียงใหม่, ระบบจองโรงแรม

Call to Action (CTA) หรือคำสั่งให้ผู้รับสารทำอะไร เป็นหัวใจสำคัญของหน้าเว็บขายของทุกเว็บ ก้าวแรกของ Conversion เกิดขึ้นได้ด้วยสิ่งนี้

ในเว็บไซต์ CTA จะมาในรูปแบบของปุ่มคลิก สำหรับเว็บโรงแรมควรทำปุ่ม CTA ให้น่าดึงดูด เห็นได้ชัดเจน แสดงบนหน้าจอพร้อมให้คนคลิก

CTA ควรใช้คำพูดที่ชัดเจน เฉียบขาด สื่อถึงการกระทำที่อยากให้ลูกค้าทำ เช่น จองห้องพัก, ลงทะเบียน แทนที่คำว่า คลิก เฉยๆ

แต่ต้องระวังไม่ทำให้ปุ่ม CTA ที่อยู่ในหน้าเว็บเพจเดียวกันดูขัดกันเอง เช่น คนละสี มีคำสั่งคนละเรื่อง ทำให้ผู้ใช้เว็บไซต์หรือผู้ที่พบเห็นสับสน จนอาจทำให้คลิกหรือ Conversion ที่น้อยลงตามมา

3. ข้อเสนอไม่จูงใจมากพอ

เว็บโรงแรม, จ้างทำเว็บไซต์ ที่ไหนดี, ระบบจองห้องพัก, โปรแกรมจองห้องพัก, รับทำเว็บไซต์ เชียงใหม่, ระบบจองโรงแรม

ข้อเสนอที่ดีเพิ่มคุณค่าให้กับเว็บไซต์ได้ ตรงกันข้ามกับข้อเสนอที่ไม่ดีหรือไม่จูงใจเท่าไหร่ที่ทำให้ผู้ใช้งานเว็บลังเลสงสัย และผลักให้พวกเขาไปค้นหาตัวเลือกอื่น

ซึ่งเมื่อไหร่ที่กลุ่มเป้าหมายหลุดจากหน้าเว็บของคุณไปแล้ว มีโอกาสสูงมากที่พวกเขาจะถูกคู่แข่งดึงไว้ ด้วยข้อเสนอหรือวิธีทำการตลาดที่ดีกว่า ข้อเสนอที่เว็บไซต์อาจเผลอหรือพลาดทำได้ก็เช่น

  • โปรโมชั่นซ้ำกับ OTA : ปกติแล้ว OTA จะมีข้อกำหนดไมให้โรงแรมทำโปรโมชั่นที่เหมือนกับทำกับ OTA ในช่องทางอื่น แต่ก็อาจจะยังมีโรงแรมบางส่วนทำโดยใช้วิธีปรับคำพูดในโฆษณา ซึ่งไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่ ก็ไม่ใช่วิธีเรียกลูกค้าที่ดี เพราะนอกจากจะละเมิดข้อตกลงกับคู่ค้าของโรงแรม โปรโมชั่นซ้ำซ้อนยังไม่ดึงดูดลูกค้า เป็นการเสียโอกาสในการสร้างยอดขายในหน้าเว็บโรงแรมไปเปล่าๆ
  • ข้อเสนอหลากหลายในหน้าเว็บเดียว : ฟังเหมือนจะไม่ดี แต่ในแง่ของเว็บโรงแรมที่ต้องการให้ลูกค้าตัดสินใจจองห้องพักในหน้าเว็บ การให้ตัวเลือกมากเกินไปไม่ดีเท่าการให้ข้อเสนอเดียวซ้ำๆ ซึ่งอย่างหลังเชิญชวนหรือกระตุ้นให้คนตัดสินใจได้ง่ายกว่า
  • ลืม CTA : บรรยายสรรพคุณสินค้าหรือบริการจนเสร็จสรรพแล้ว อย่าลืมบอกลูกค้าว่าให้ทำการสั่งซื้อด้วย ส่วนมากแล้ว CTA จะมากับปุ่มเข้าสู่หน้าสั่งซื้อ ซึ่งมักอยู่คนละหน้ากัน
  • หาทางจองห้องพักในเว็บยาก : โฆษณาห้องพักควรมีปุ่ม CTA ที่นำไปสู่หน้ากรอกข้อมูลจองห้องพักและชำระเงินได้เลยในปุ่มเดียว ไม่ต้องคลิกหลายขั้นตอนหรือกรอกข้อมูลซ้ำซาก
  •  ไม่อัพเดทเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง : ภาพห้องพัก สระว่ายน้ำ ห้องอาหาร หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่สวยงามและชัดเจน ข้อมูลติดต่อปัจจุบันที่สุด ลบโปรโมชั่นที่หมดช่วงเวลาแล้วออก ฯลฯ

 

4. เว็บไซต์ไม่ออกแบบให้ responsive

เว็บโรงแรม, จ้างทำเว็บไซต์ ที่ไหนดี, ระบบจองห้องพัก, โปรแกรมจองห้องพัก, รับทำเว็บไซต์ เชียงใหม่, ระบบจองโรงแรม

Responsive design เป็นการออกแบบเว็บไซต์ให้ปรับเข้ากับอุปกรณ์ที่เข้าหน้าเว็บไซต์ได้อัตโนมัติ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะปัจจุบันผู้คนเข้าหน้าเว็บไซต์ด้วยเครื่องมือที่นอกเหนือจากคอมพิวเตอร์

โดยเฉลี่ยแล้ว แต่ละเว็บไซต์จะมีผู้ใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนถึงครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ใช้งานทั้งหมดหรือมากกว่านั้น และการใช้งานเว็บไซต์ผ่านอุปกรณ์สื่อสารขนาดเล็กกำลังเป็นเทรนด์ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ถ้ามองเห็นจุดนี้แล้วปรับตัวตามจะได้เปรียบมากกว่า

5. เว็บหน้าตาไม่สวย

เว็บไซต์ที่รูปโฉมล้าสมัย ยุ่งเหยิง เนื้อหาไม่สอดคล้องกัน รวมๆ แล้วเป็นลักษณะของเว็บหน้าตาไม่สวย ตัวเว็บแบบนี้มีแต่จะไล่คนออกไปจากเว็บไซต์และสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้กับธุรกิจของคุณ

แล้วเว็บไซต์ที่หน้าตาดีต้องเป็นอย่างไร? เว็บที่ดีต้องสะท้อนถึงกลุ่มเป้าหมาย ลูกค้าของคุณ เช่น กระฉับกระเฉง รักธรรมชาติความผ่อนคลาย ประหยัด และนำลักษณะเหล่านี้มาอยู่ในแผนการตลาดของคุณให้มากที่สุด

6. เมนูบนหน้าเว็บไซต์ซับซ้อน

แขกของโรงแรมเข้าเว็บโรงแรมเพื่ออะไร? อย่างแรกคือ เพื่อหาข้อมูลที่พัก ห้องพัก และโปรโมชั่น

ถ้าข้อมูลน่าสนใจและดึงดูดเพียงพอ การจองก็จะเกิดขึ้น ผู้ใช้เว็บไซต์จะไปหาข้อมูลที่แถบเมนูของเว็บไซต์ก่อนเป็นอย่างแรก เมนูของเว็บไซต์ที่ดีจึงควรมีลักษณะดังนี้

  • เมนูเว็บไซต์ควรอยู่ด้านบนสุดของเว็บไซต์ เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ลูกค้าที่เข้าเว็บมาควรเห็นสิ่งนี้เป็นสิ่งแรก  หากมีสิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็สามารถนำมาไว้เหนือเมนูอีกได้ เช่น ประกาศแจ้งกรณีโควิดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
  • แถบเมนูควรมีแต่รายการสำคัญเท่านั้น เช่น รูปแบบห้องพัก โปรโมชั่นที่มีอยู่ปัจจุบัน บริการของโรงแรม ภาพสถานที่ ติดต่อสอบถาม
  • ใช้คำอธิบายที่ชัดเจน เช่น เกี่ยวกับโรงแรม แทนคำว่า เกี่ยวกับเรา

7. ใช้ภาพความละเอียดต่ำ

สำหรับเว็บโรงแรม ภาพและวิดีโอ คือหนทางเดียวที่ว่าที่ลูกค้าจะสัมผัสได้ถึงบรรยากาศที่แท้จริงของสถานที่ที่พวกเขาสนใจจะไปพัก

ถ้าภาพหรือวิดีโอไม่ชัด ไฟล์แตก เห็นรายละเอียดได้อย่างเลือนลาง โรงแรมก็ไม่สามารถสร้างความประทับใจให้กับกลุ่มเป้าหมายได้

การ “สร้างภาพ” สวยๆ จึงเรียกได้ว่าเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับโรงแรม เพื่อให้ผู้สนใจเห็นภาพมากที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องเป็นภาพที่ไม่เกินจริง หรือไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดด้วย

8. ทำให้รายละเอียดในเว็บไซต์ดูธรรมดาไม่พิเศษ

ภาพเสียงดีเลิศ เนื้อหาก็ต้องพิเศษให้เข้ากับภาพด้วย ด้วยการสร้างเนื้อหาที่สื่อสารเจาะจงไปที่กลุ่มเป้าหมายของโรงแรมโดยเฉพาะ ทั้งภาษา รายละเอียด และภาพรวมของเว็บไซต์

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การทำเว็บไซต์ขายห้องพักให้นักท่องเที่ยวแบบครอบครัวกับนักเดินทางที่พักเพื่อทำธุรกิจ เว็บไซต์เพื่อกลุ่มเป้าหมายเหล่านีี้ต้องแตกต่างกันอย่างชัดเจน

9. ใช้ภาษาผิดๆ ถูกๆ

การเรียงลำดับใจความ การสะกดคำ หรือรายละเอียดด้านภาษา มีส่วนสำคัญต่อความน่าเชื่อถือของแบรนด์อย่างยิ่ง

หมั่นตรวจสอบการใช้ภาษาว่าสื่อสารถูกต้องหรือไม่ การใช้ไวยากรณ์ผิดถูกหรือไม่ การแปลความหมายจากสื่อต่างประเทศ ไปจนถึงภาพรวมของเนื้อหาว่า มีอารมณ์น้ำเสียงการใช้คำพูด (Mood & Tone) ตามที่โรงแรมกำหนดไว้หรือไม่

10. แสดงข้อมูลมากเกินไป

น้อยแต่มาก วลีนี้มีพลังมากในเว็บไซต์ที่ภาพมีความสำคัญสูงอย่างเว็บโรงแรม ไม่ควรใส่ข้อมูลในหน้าเว็บไซต์มากเกินไป อาจเริ่มจากการใส่ข้อมูลจำเป็นก่อน เช่น รูปแบบห้องพัก ราคาค่าห้อง สิ่งอำนวยความสะดวก และเงื่อนไข จากนั้นอาจจะเห็นภาพชัดขึ้นว่า จะเพิ่มเติมอะไรได้เหมาะสม

จัดสรรข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือและภาพให้พอดี มีที่ว่างในเว็บให้สวยงาม ในพื้นที่ออนไลน์นอกเว็บไซต์อย่างโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram ก็ควรจัดทำให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกันด้วย

11. ราคาต่างกันเกินไป

แผนการขายห้องพักทางออนไลน์ควรยึดราคาพิเศษหรือข้อเสนอพิเศษเป็นจุดขาย

โดยเฉพาะการขายทางเว็บไซต์โรงแรมที่ควรมีราคาหรือข้อเสนอที่พิเศษที่สุดกว่าช่องทางขายออนไลน์อื่นๆ เช่น OTA ซึ่งเว็บไซต์ที่มีระบบดูแลช่องทางขายออนไลน์อัตโนมัติหรือ Channel Manager จะสามารถแก้ปัญหาจุดนี้ได้อย่างชัดเจน

12. จองผ่านเว็บไม่มีสิทธิพิเศษ

หากเว็บโรงแรมอยากดึงลูกค้าจาก OTA ให้มาจองแค่ทำราคาให้เท่ากับหรือต่ำกว่า OTA ไม่พอ ด้วยระดับการแข่งขันของธุรกิจโรงแรมและการจองการท่องเที่ยวที่เข้มข้นมาก เว็บโรงแรมควรให้สิทธิพิเศษที่มากกว่าแค่ราคาที่ถูกลง เพื่อดึงดูดลูกค้า

เช่น บริการรับส่งแขกเข้าพักระหว่างที่พักกับสนามบินหรือสถานีขนส่ง คลาสโยคะหรือบำบัดผ่อนคลายร่างกาย ฯลฯ 

เว็บโรงแรม ควรแสดงสิทธิพิเศษเฉพาะลูกค้าจองห้องพักตรงในเว็บโรงแรมให้ชัดเจน ยิ่งอยู่บนหน้าแรกได้ยิ่งดี หรือใส่ในส่วนโปรโมชั่น บล็อก หรือหน้าต่างโฆษณาเล็กๆ (popup) ก็ได้

13. ขั้นตอนการจองที่มากเหมือนไม่มีจุดสิ้นสุด

เคล็ดลับการปิดการขายอย่างหนึ่งที่ใช้ได้กับสินค้าทุกประเภทคือ ยิ่งมีขั้นตอนน้อยเท่าไหร่ยิ่งดี สำหรับเว็บโรงแรม ถ้าลูกค้าใช้เวลาคลิกเพื่อจองห้องพักน้อยครั้งเท่าไหร่ยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น

การจัดการขั้นตอนการจองต้องย้อนกลับไปดูที่ระบบการจองในเว็บโรงแรม (Booking Engine) ที่ควรจัดทำให้การจองห้องพักแต่ละครั้งบนหน้าเว็บไซต์ไม่เกิน 3 ขั้นตอน (ได้แก่ ค้นหา – เลือกห้องพัก – ชำระเงินหรือยืนยัน)

ควรเลี่ยงการทำแบบฟอร์มให้ลูกค้ากรอกข้อมูลส่วนตัวที่ไม่จำเป็นมากเกินไปเพื่อลดเวลาในการจองด้วย ซึ่งหากเป็นลูกค้าที่เคยเข้าพักอยู่แล้ว โรงแรมสามารถใช้ระบบสมาชิกให้เป็นประโยชน์

การมีระบบสมาชิกจะยิ่งช่วยลดเวลาการกรอกข้อมูลมากขึ้นไปอีกได้

14. ไม่เก็บข้อมูลการเลือกห้องพักของลูกค้าหรือส่งอีเมลขายของ

การทำเรื่องจองห้องพักในเว็บไซต์ของลูกค้าไม่สำเร็จทุกรายการเสมอไป ไม่มีเว็บโรงแรมเว็บใดบนโลกนี้ที่ไม่มีลูกค้าทิ้งการจองกลางคัน โดยสาเหตุมีได้หลายอย่าง เช่น มีธุระเข้ามา อินเตอร์เน็ตมีปัญหา ไฟดับ อุปกรณ์เสีย หรือเผลอปิดหน้าต่างเว็บไซต์ไปก็ได้

เว็บไซต์อาจไม่สามารถแก้ปัญหาเฉพาะเรื่องเหล่านี้ได้ แต่สามารถจะช่วยรักษาการจองให้ลูกค้าได้ เช่น popup เตือนการปิดหน้าจอ, บันทึกการจองอัตโนมัติให้ลูกค้าเข้ามาทำรายการต่อได้, แนะนำรายการห้องพักใกล้เคียงกับห้องพักที่ลูกค้าเข้าชมมาก่อน ฯลฯ

โดยโรงแรมสามารถใช้ข้อมูลของลูกค้าที่มีส่งอีเมลขายห้องพักหรือ Email Marketing ไปยังลูกค้าเดิมได้ ซึ่งเป็นวิธีการขายแบบง่ายๆ ที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอ 

อ่าน : 5 อีเมลขายของ ที่น่าเปิดอ่าน แถมเปลี่ยนลูกค้าครั้งแรกเป็นลูกค้าประจำได้

15. ปล่อยให้ลูกค้าหาข้อมูลไม่เจอ

ถ้าโรงแรมไม่มีห้องว่างเลยในช่วงวันเวลาใด หรือปิดชั่วคราวตามช่วงเทศกาล ควรแจ้งข้อมูลนี้บนหน้าเว็บไซต์โรงแรมให้ชัดเจน หรือแสดงวันเวลาทีมีห้องพักที่ว่างในระบบจองห้องพัก รวมถึงแจ้งบนโซเชียลมีเดียของโรงแรมด้วย

เว็บโรงแรม, จ้างทำเว็บไซต์ ที่ไหนดี, ระบบจองห้องพัก, โปรแกรมจองห้องพัก, รับทำเว็บไซต์ เชียงใหม่, ระบบจองโรงแรม

16. ไม่มีคะแนนหรือความคิดเห็นจากผู้เข้าพัก

ความคิดเห็นจากผู้เคยเข้าพักโรงแรมช่วยให้คนสนใจห้องพักของโรงแรมของคุณตัดสินใจได้มากว่า จะพักที่นี่ดีหรือไม่ การแสดงความคิดเห็นของลูกค้าบนเว็บโรงแรมมีส่วนช่วยให้การจองเพิ่มขึ้นได้ แต่ควรจะรักษาความคิดเห็นให้อยู่ในระดับดี เช่น 4-5 คะแนน ขึ้นไป (จาก 5 คะแนน)

หากเว็บเป็นแบบเปิดให้แสดงความคิดเห็นได้เลยทันที ควรมีเจ้าหน้าที่คอยตรวจตราเสมอ หากพบข้อมูลที่ไม่ดีต่อภาพลักษณ์ เช่น วิจารณ์การบริการเชิงลบ ทางโรงแรมต้องรีบเข้าไปสอบถามแก้ไขทั้งกรณีปัญหาและความไม่พอใจ รวมถึงควรแจ้งผลการติดตามกรณีในช่องความคิดเห็นนั้นๆ เมื่อปัญหาได้รับการคลี่คลายแล้ว

เพราะแม้ความไม่พอใจได้เกิดขึ้นไปแล้ว แต่หากโรงแรมสนใจและไม่นิ่งนอนใจในปัญหา ผู้พบเห็นซึ่งอาจเป็นลูกค้าหรือคนที่สนใจห้องพักก็จะสัมผัสได้ถึงความดูแลใส่ใจและวางใจที่จะพักในโรงแรมของเรามากขึ้น

17. ไม่มีช่องทางสื่อสารกับโรงแรม

เว็บโรงแรมมีระบบการจองห้องพักในตัวเลยก็จริง แต่ลูกค้าก็อาจมีคำถามเกี่ยวกับที่พักที่อยากได้ความกระจ่างแจ้งจากโรงแรมก่อนทำการจอง

โรงแรมจึงต้องเปิดช่องทางการติดต่อให้ลูกค้าสามารถติดต่อมาหาได้สะดวกที่สุด เช่น หมายเลขโทรศัพท์ ระบบแชท ระบบแจ้งเจ้าหน้าที่ให้โทรกลับ พร้อมเวลาที่เจ้าหน้าที่พร้อมตอบรับอย่างชัดเจน อีเมลและช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ

18. เว็บไม่อัปเดต

ถ้าโรงแรมหลีกเลี่ยงข้อควรระวังที่เล่ามาข้างต้น ก็เชื่อว่าเว็บไซต์ได้รับการอัปเดตข้อมูลให้เป็นปัจจุบันในระดับหนึ่งแล้ว การแจ้งข่าวประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรงแรมให้ลูกค้าทราบมีความสำคัญเสมอ

และยิ่งสำคัญมาก ในช่วงที่เกิดโรคระบาดหรือหลังโรคระบาด ที่ลูกค้าย่อมอยากรู้ว่าสามารถจองห้องพักได้หรือไม่ เข้าพักได้หรือเปล่า หรือมีเงื่อนไขอะไรที่ลูกค้าต้องรับทราบบ้าง

19. ระบบเว็บไซต์ไม่ปลอดภัยหรือน่าเชื่อถือ

ความมั่นใจหรือน่าเชื่อถือ ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจได้มากว่าจะจองหรือไม่จองห้องพักดี ถ้าลูกค้าไม่เชื่อว่าเว็บไซต์ปลอดภัยหรือรักษาข้อมูลลูกค้าได้ ก็คงไม่ลงทะเบียน จองห้องพักหรือชำระเงินผ่านเว็บไซต์แน่นอน วิธีที่โรงแรมจะเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับระบบได้ อาทิ

  • เปลี่ยนเว็บไซต์เป็น HTTPS หรือโปรโตคอลที่มีการเข้ารหัสข้อมูล ทำให้การรับส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้งานกับเว็บไซต์มีความปลอดภัยสูง ไม่ถูกบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องดักอ่านข้อมูลง่ายๆ
  • ไม่ขอให้ลูกค้ากรอกข้อมูลส่วนตัวที่โรงแรมไม่จำเป็นต้องทราบหรือใช้ประโยชน์
  • อธิบายนโยบายจัดการและดูแลข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าอย่างชัดเจน ตั้งแต่ตอนก่อนกรอกข้อมูลหรือชี้แจงในส่วนคำถามที่พบบ่อย (FAQ)
  • อัปเดตนโยบายความเป็นส่วนตัว หรือการเก็บคุกกี้ข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ต่างๆ
  • แสดงสัญลักษณ์รับรองมาตรฐาน การตรวจสอบ หรือองค์กรกลางที่รับรองความน่าเชื่อถือ ในหน้าชำระเงินห้องพัก เช่น Visa, Mastercard

อ่าน : Page Experience: 7 ประสบการณ์ดีๆ ที่ Google อยากให้ทุกเว็บไซต์มี!

เว็บโรงแรม, จ้างทำเว็บไซต์ ที่ไหนดี, ระบบจองห้องพัก, โปรแกรมจองห้องพัก, รับทำเว็บไซต์ เชียงใหม่, ระบบจองโรงแรม

20. ไม่ทำ A/B testing

A/B testing คือ การทดสอบผลตอบรับของผู้ใช้งาน ด้วยการทำของสิ่งหนึ่งในรูปแบบที่ต่างกัน เพื่อดูว่าคนตอบสนองกับรูปแบบไหนดีกว่า

การทำ A/B testing เป็นวิธีการทดสอบตลาดที่ภาคธุรกิจใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะแผนกการตลาดและการประชาสัมพันธ์ 

เว็บโรงแรม ควรทดสอบวิธีโฆษณาเรียกลูกค้าในหน้าเว็บอยู่เสมอ เพื่อรับรู้การตอบรับหรือ Feedback จากผู้ใช้งานจริง ว่าการตลาดหรือโฆษณา (เช่น สี, หน้าตาของเว็บ, ปุ่ม CTA, ข้อความ) ที่ทำไปช่วยทำให้เกิดการซื้อขายหรือไม่ หรือแบบไหนได้ผลดีมากกว่ากัน โดยปกติสามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยใช้ Google Optimize 

WOW ส่งท้าย

ลิสต์เรื่องผิดพลาดที่เว็บโรงแรมต้องระวังทั้งหมดนี้สามารถปรับได้ทีละนิดละหน่อยเพื่อไม่กระทบต่อรูปแบบเว็บไซต์ที่อยากคงรักษาไว้ หรือยกเครื่องทีเดียวทั้งหมดก็ได้ในช่วงเวลาที่เว็บไม่มี traffic มากนัก รับรองว่าปรับแล้วจะเห็นความเปลี่ยนแปลงในเว็บของคุณอย่างเห็นได้ชัด

แต่หากอยากเริ่มสร้างเว็บไซต์ใหม่หรือมีผู้เชี่ยวชาญด้านเว็บไซต์ช่วยไม่ต้องลองผิดลองถูกให้เสียเวลา 

เพราะ WOW รับออกแบบเว็บโรงแรมพร้อมบริการระบบจัดการห้องพักอย่างครบวงจร ที่เพิ่มการจองตรง และอัพเดตข้อมูลทุกช่องทางการขายผ่านเว็บโรงแรมได้ทันที

  • Professional web design หน้าเว็บโรงแรมสวยงาม ใช้งานง่าย ค้นหาเจอง่ายใน Google ด้วยเทคนิค SEO ที่อัปเดต
  • Online booking engine ระบบจองห้องพักออนไลน์บนเว็บโรงแรม ที่เก็บข้อมูลทำรายงานการจองห้องทั้งหมดและส่งอีเมลแจ้งเตือนลูกค้าอัตโนมัติเมื่อทำการจองห้องพัก
  • Channel manager ระบบจัดการช่องทางขายห้องพักอัจฉริยะ อัปเดตข้อมูลการขายในทุกช่องทางแบบ real-time ทั้งเว็บ, OTA, โซเชียลมีเดีย ฯลฯ
  • Dynamic pricing ระบบกำหนดราคาที่ช่วยสร้างกำไรต่อห้องพัก เคลื่อนไหวตามความต้องการจองของลูกค้า
  • 24/7 Customer service ทีมงานของ WOW คอยดูแลช่วยเหลือลูกค้าหลังรับระบบไปใช้งานด้วยตัวเองตลอดการใช้งานเว็บ ใช้งานตลอด ก็ดูแลกันตลอด

อยากทำเว็บไซต์ธุรกิจที่ช่วยสร้างยอดขายได้จริง ปรึกษา WOW ฟรีที่นี่

รับบทความใหม่ ไปอ่านก่อนใครไหม?

ทำธุรกิจออนไลน์ด้วยความรู้อัปเดต เข้าใจง่าย ได้ยอดขายดีจริงๆ กันดีกว่า!

บทความน่าอ่านในหมวดเดียวกัน

why-we-need-blog
Marketing

15 เหตุผลทำไมต้องมี Blog

คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมแบรนด์ดังๆ ถึงทุ่มเทเวลาและทรัพยากรมากมายไปกับการทำบล็อก? หรือบางทีคุณอาจกำลังคิดว่า… “ธุรกิจของเราเล็กเกินไป ยังไม่จำเป็นต้องทำบล็อกหรอก” “ลูกค้าของเราไม่น่าจะสนใจอ่านบล็อก” “เรามีโซเชียลมีเดียแล้ว บล็อกคงไม่สำคัญเท่าไหร่” “ไม่มีเวลาพอจะมาทำบล็อกหรอก มีงานอื่นที่สำคัญกว่า” ถ้าคุณกำลังคิดแบบนี้อยู่ บทความนี้มีไว้สำหรับคุณโดยเฉพาะ 15 เหตุผลต่อไปนี้จะเปิดมุมมองใหม่ให้คุณเห็นว่า ทำไมแบรนด์ระดับโลกถึงให้ความสำคัญกับการทำบล็อก และทำไมธุรกิจของคุณไม่ควรรอช้าที่จะเริ่มต้นทำบล็อกตั้งแต่วันนี้ 1. Blog สร้างลูกค้าเป้าหมายได้มากกว่าการยิงโฆษณาถึง 3 เท่า รู้ไหมว่าการทำบล็อกให้ผลลัพธ์ที่น่าทึ่งแค่ไหน? ลองนึกภาพดูว่าคุณมีบล็อกที่เขียนดี มีเนื้อหาที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย แค่นี้คุณก็มีโอกาสได้ลูกค้ามากกว่าการลงโฆษณาถึง

start-your-tour-company
Marketing

เปิดบริษัททัวร์ของคุณอย่างมั่นใจ ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม

การเปิดบริษัททัวร์ในยุคที่มีการแข่งขันสูงเช่นนี้ เป็นความท้าทายที่ต้องการมากกว่าแค่ความสามารถในการค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวที่ดีที่สุด ผู้ประกอบการต้องเข้าใจเทรนด์ตลาดที่เปลี่ยนแปลงและความต้องการของลูกค้าที่ซับซ้อนมากขึ้น การเปิดบริษัททัวร์ให้ประสบความสำเร็จนั้นต้องอาศัยทั้งความสามารถในการสร้างโปรแกรมทัวร์ที่น่าสนใจและการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมการเปิดบริษัททัวร์ถึงเป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจ? ตลาดการท่องเที่ยวที่เติบโต อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเปิดบริษัททัวร์เป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจ ความต้องการประสบการณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ นักท่องเที่ยวมองหาประสบการณ์ที่แตกต่างและเป็นส่วนตัวมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับบริษัททัวร์ที่สามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคลได้ การเข้าถึงตลาดทั่วโลก เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้บริษัททัวร์สามารถเข้าถึงลูกค้าทั่วโลกได้ง่ายขึ้น กุญแจสู่ความสำเร็จในการเปิดบริษัททัวร์ 1.การวางแผนธุรกิจที่รอบคอบ วิเคราะห์ตลาดและกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน สร้างแผนการเงินที่รัดกุม รวมถึงการประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย กำหนดเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวสำหรับบริษัททัวร์ของคุณ 2. การพัฒนาบุคลากร ฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้เกี่ยวกับจุดหมายปลายทางและทักษะการบริการลูกค้า สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นคุณภาพและความพึงพอใจของลูกค้า 3. การเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม การเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญในการเปิดบริษัททัวร์ให้ประสบความสำเร็จ ต่อไปนี้คือเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ 3.1