ศัพท์การตลาด 2022, online marketing 2022, ทำการตลาด ยังไงดี

60 ศัพท์การตลาด 2022 ใหม่ ที่เห็นประจำในงานสายการตลาดดิจิตอล

ศัพท์การตลาด 2022 มาแล้ว! ต่อเนื่องจาก 100 ศัพท์การตลาดทั่วไปที่นักการตลาดควรรู้ ศัพท์การตลาดและโฆษณารอบนี้จะมาอัพเดตคำศัพท์ในสื่อโซเชียลมีเดียกันบ้าง

เพราะคงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า โซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, Instagram, Twitter และโซเชียลฯ อื่นๆ เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือการตลาดทุกวันนี้ ที่มีผลต่อการโปรโมทธุรกิจและการขายเป็นอย่างมาก

โซเชียลมีเดียสำหรับหลายคนอาจเป็นเรื่องง่ายดายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่เกิดและเติบโตมากับสิ่งนี้

แต่เพราะเทคโนโลยีที่หมุนเร็วมากๆ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าบางครั้งหลายคนที่ใช้งานโซเชียลฯ อยู่เป็นประจำยังแอบตามไม่ทันเหมือนกัน

อะไรคือ ทวีต, ติดแฮชแท็ก, ใส่แคปชั่น, เอฟ ฯลฯ บทความนี้ของ WOW จะมาชวนนักการตลาดอัพเดต ศัพท์การตลาด 2022 หรือของปีนี้ ไปพร้อมๆ กัน


คำศัพท์หมวด A

Account

แอคเคาท์ คือ บัญชีผู้ใช้งานในโซเชียลมีเดีย

Admin 

อ่านว่า แอดมิน (บางครั้งก็ถูกเรียกสั้นๆ แค่พยางค์เดียวว่า แอด) ย่อมาจาก Administration ที่แปลว่า เจ้าหน้าที่ หรือการบริหารจัดการ ผู้ที่ทำงานตำแหน่งนี้ส่วนใหญ่มีหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องทั่วไป

ในวงการธุรกิจค้าขาย แอดมิน คือ เจ้าหน้าที่ต้อนรับลูกค้าหรือผู้มาติดต่อ ผู้รับออเดอร์และประสานงานจนธุรกรรมเสร็จสิ้น มักไม่ค่อยได้เกี่ยวข้องกับงานบริหาร แต่ฝ่ายบริหารต้องรับฟังความเห็นของเจ้าหน้าที่ตำแหน่งนี้บ่อยๆ เพราะเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับลูกค้าที่สุด

Analytics

ระบบข้อมูลที่บันทึกความเคลื่อนไหวและสิ่งที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดีย เช่น ยอดการเข้าชม เวลาที่คนใช้งานเว็บ/โซเชียลฯ การคลิก การมีปฏิสัมพันธ์ (engagement) สำหรับเว็บไซต์ ส่วนมากจะใช้ Google Analytics ส่วน Facebook และ Twitter ก็มี Facebook Analytics, Twitter Analytics เป็นต้น

Avatar

อวาตาร คือ ภาพหรือชื่อผู้ใช้งานในโลกออนไลน์ ส่วนมากมักเป็นพื้นที่อย่างเว็บกระทู้หรือโซเชียลมีเดีย อวาตาร ในบางแง่ก็สื่อถึงความหมายที่ไม่ค่อยดี เพราะอาจหมายถึงบัญชีใช้งานปลอมไม่ได้แสดงถึงตัวบุคคลจริง หรือบัญชีที่สร้างขึ้นเพื่อเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์

คำศัพท์หมวด B

Bio

ไบโอ คือ คำอธิบายตัวตนแบบสั้นๆ ว่า เจ้าของพื้นที่ออนไลน์ทั้งเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียเป็นใคร ส่วนมากมักจะหมายถึงโซเชียลมีเดียมากกว่า เพราะสำหรับเว็บไซต์จะเรียกว่า About Us เช่น พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เขียนไบโอใน Facebook หรือ Instagram ว่าร้านของตัวเองขายอะไร สินค้าพร้อมส่งหรือไม่ มีค่าส่งเท่าไหร่ ติดต่อได้ที่ไหน เป็นต้น

Bitly

บิทลี่ คือ บริการย่อลิงค์เว็บไซต์และระบบติดตามความเคลื่อนไหวของลิงค์นั้นๆ ความนิยมของการย่อลิงค์เริ่มมาจากความต้องการความกระชับของการใช้พื้นที่ออนไลน์ หรือการจำกัดพื้นที่การโพสต์ เช่น ทวิตเตอร์ นอกจาก Bitly ก็ยังมีอีกหลายเว็บที่ให้บริการด้านนี้ และส่วนมากฟรี

Blog

บล็อก คำนี้ออกเสียงเหมือนคำว่า Block ที่แปลว่า ปิดกั้น ไม่ยอมรับ แต่ Blog คำนี้แปลว่า พื้นที่การใส่เนื้อหา รายละเอียด หรือเหตุการณ์ อยู่ในรูปแบบของตัวหนังสือ วิดีโอ หรือคลิปเสียง ก็ได้

คำว่า Blog ยังใช้เป็นกิริยาก็ได้ เช่น วันนี้เพจ ขายของออนไลน์เป็นอาชีพเสริม บล็อกเรื่องวิธีการทำอาชีพเสริมเมื่อคุณทำงานแบบเข้าเก้าโมงเลิกงานหกโมง, WOW We On Web ทำบล็อกความรู้การตลาดเรื่อง ศัพท์การตลาด 2020 เป็นต้น

คำศัพท์หมวด C

Canva

แอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์ออกแบบและสร้างงานภาพด้วยตัวเอง ที่มีจุดเด่นในเรื่องการใช้งานง่าย แม้แต่ผู้ที่ไม่เก่งงานดีไซน์ก็ใช้ได้ เพราะมีต้นแบบ (template) ให้นำไปใช้งานได้ ผู้นำต้นแบบไปใช้สามารถดัดแปลงแบบนั้นได้ตามใจชอบ Template ส่วนใหญ่ยังได้รับการออกแบบมาให้โพสต์ลงโซเชียลมีเดียด้วย

Caption

แคปชั่น คือ คำอธิบายภาพหรือโพสต์ อาจจะอยู่บริเวณด้านในหรือนอกภาพหรือโพสต์ก็ได้ แคปชั่น เป็นสิ่งที่สำคัญพอๆ กับภาพหรือโพสต์ เพราะจะช่วยให้ผู้เห็นโพสต์เข้าใจหรือมีอารมณ์ร่วมไปกับเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อได้มากขึ้น

CF

ซีเอฟ ย่อมาจาก Confirm (คอนเฟิร์ม) แปลว่า ยืนยัน

Chat

แชท คือ ระบบพูดคุยหรือการพูดคุยในทุกช่องทางบนโลกออนไลน์ แต่ส่วนมากแล้วจะเป็นการสื่อสารสองฝ่ายและใช้ตัวอักษรเป็นหลัก คำว่า แชท ใช้เป็นคำกิริยาได้ด้วยเช่นกัน เช่น ร้านค้าแชทคุยกับลูกค้า

Community manager

คอมมูนิตี้ แมเนเจอร์ หรือถ้าแปลตรงตัวคือ ผู้จัดการชุมชน ซึ่งชุมชนที่ว่านี้คือ ชุมชนออนไลน์ ทุกวันนี้ Community manager เป็นตำแหน่งงานที่สำคัญมากในองค์กรที่ต้องการขยายธุรกิจแบบออนไลน์ โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย

Community manager เป็นตำแหน่งที่มีการเติบโตสูง จะทำงานใกล้ชิดกับผู้บริหารและฝ่ายการตลาดเป็นพิเศษ หลายบริษัทอาจให้ Community manager รับผิดชอบกำหนดทิศทางการตลาดขององค์กรไปด้วยในคนเดียวกัน

Content

คอนเทนต์ คือ เนื้อหาที่เผยแพร่ จะเป็นในรูปแบบของข้อความ เสียง ภาพ หรือวิดีโอ ก็ได้ เช่น บทความเรื่อง ศัพท์การตลาด 2020 ก็เรียกว่าเป็น Content เหมือนกัน

Creative Commons

ครีเอทีฟ คอมมอนส์ คือ ความร่วมมือแบบไม่แสวงหาผลกำไร ในที่นี้คือการสร้างคลังข้อมูล ภาพ ไฟล์ต่างๆ ที่บุคคลทั่วไปนำไปใช้งานได้ฟรีโดยอาจจะมีหรือไม่มีเงื่อนไขลิขสิทธิ์ แล้วแต่เจ้าของชิ้นงานจะกำหนด Creative Commons ที่ใช้งานกันอยู่ประจำหรือคุ้นเคยกันก็อย่างเช่น คลังภาพฟรี ข้อมูลวิกิพีเดีย เป็นต้น

Crowdsourcing

คราวด์ซอสซิ่ง คือ การรวมหรือระดมข้อมูลหรือไอเดียจากคนหมู่มาก การรวมข้อมูลลักษณะนี้โดยทั่วไปทำบนโลกออนไลน์ คำว่า Crowd แปลว่า คนหมู่มาก นอกจาก Crowdsourcing ยังมีอีกคำศัพท์ยอดนิยมคือคำว่า Crowdfunding ที่แปลว่า การระดมทุนทรัพย์

คำศัพท์หมวด D

DM

ดีเอ็ม ย่อมาจาก Direct message แปลว่า ข้อความโดยตรง แรกเริ่มเป็นคำที่ใช้กันใน Twitter แต่ต่อมาก็ใช้กันทั่วไปในโซเชียลมีเดียที่มีระบบส่งข้อความตรง เช่น Facebook นอกจาก ดีเอ็ม ก็อาจพูดว่า ไดเรค (Direct) แต่มีความหมายเดียวกัน

Dark post

ชื่อ Dark ไม่ได้น่ากลัวอย่างชื่อ ดาร์ค โพสต์ คือโฆษณาบนโซเชียลมีเดียที่จะปรากฏบนหน้าฟีดของกลุ่มเป้าหมาย (Target audience) บน Facebook และ Instagram โพสต์นี้จะขึ้นว่า sponsored ส่วน Twitter จะขึ้นว่า promoted

แต่ที่สุด Dark post ก็อาจจะน่ากลัวได้ หากปรากฎบนหน้าฟีดของกลุ่มเป้าหมายในปริมาณที่ถี่เกินไป หรือไม่สวยงามหรือมีเนื้อหาโดนใจที่ทำให้เกิดการคลิก

 

คำศัพท์หมวด E

Ebook

อีบุ๊ค คือหนังสือในรูปแบบดิจิตอล (E ย่อมาจาก Electronic) ส่วนมากมีเนื้อหาเหมือนหนังสือที่พิมพ์เป็นรูปเล่มทั่วไป เพียงแค่อยู่ในรูปของไฟล์ดิจิตอล ส่วนมากก็คือไฟล์ PDF นักการตลาดที่ทำการตลาดแบบ Inbound marketing มักใช้วิธีการดาวน์โหลด ebook ในการเก็บข้อมูลการติดต่อของกลุ่มเป้าหมาย

Emoji

อีโมจิ คือภาพการ์ตูนจิ๋วขนาดเท่าตัวหนังสือ สามารถพิมพ์ควบคู่กับตัวอักษรเลยก็ได้ โดยทั่วไปจะอยู่ในโซเชียลมีเดียและโปรแกรมแชทสนทนา ประโยชน์ของ Emoji คือใช้เพิ่มอารมณ์และอรรถรสให้กับการสนทนา

คำศัพท์หมวด F

Feed

ฟีด คือ หน้าแสดงเนื้อหาของคน เพจ หรือกลุ่มที่ผู้ใช้งานติดตามอยู่ และผู้ใช้งานสามารถมีปฏิสัมพันธ์หรือจัดการหน้าฟีดได้ Feed จะมีหน้าที่เหมือน Homepage

Follower

แปลว่า ผู้ติดตาม คุณสามารถเป็นได้ทั้งผู้ติดตามและมีผู้ติดตามของตัวเอง Instagram เป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้คำว่าผู้ติดตามอย่างชัดเจนความแตกต่างของระบบติดตามและระบบเป็นเพื่อนคือ การเป็นผู้ติดตาม หมายความว่า การไปรับทราบความเคลื่อนไหวของอีกคนหนึ่ง โดยที่ฝ่ายนั้นไม่ต้องมารับรู้เรื่องของเรา ขณะที่ระบบเพื่อนคือ การที่ข้อมูลของทั้งสองฝ่ายจะไปปรากฎให้อีกฝ่ายรับรู้

คำศัพท์หมวด G

GIF

จิฟ หรือ กิฟ ย่อมาจาก Graphics Interchange Format เป็นภาพเคลื่อนไหวสั้นๆ สั้นเกินกว่าจะเรียกว่าคลิปวิดีโอ พบได้ในทุกพื้นที่ในโลกออนไลน์

 

คำศัพท์หมวด I

IGTV

คลิปวิดีโอขนาดยาวใน Instagram ที่ผู้ใช้งานแบบ Business หรือ Verified account สามารถทำได้

Insights

อินไซต์ส คือฐานข้อมูลการใช้งานระบบโซเชียลมีเดีย เพื่อที่เจ้าของบัญชีใช้งานจะนำไปปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ส่วน Insights ในแง่ของการตลาดทั่วไป หมายความถึง ผลวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจ

io

ไอโอ ย่อมาจาก Information Operation หรือปฏิบัติการทางข้อมูล หรือที่เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า ปฏิบัติการไอโอ หรือ ไอโอ เลยสั้นๆ ปฏิบัติการทางข้อมูลหรือข่าวสาร คือการนำเสนอเนื้อหาเพื่อให้เกิดความเชื่อไปในทางใดทางหนึ่ง ความเชื่อนั้นจะเป็นความเชื่อด้านโฆษณา การเมือง กองทัพ หรือกลุ่มองค์กรใดก็ได้

อย่างไรก็ดี การนำเสนอแบบ io มักถูกมองและค้นพบด้วยจริงๆ ว่า มีเจตนาที่เกี่ยวข้องกับการบิดเบือนข้อเท็จจริง มากกว่าการเผยแพร่ความจริงที่คนยังขาดความรู้ความเข้าใจ ปัจจุบันเวลาพูดถึง ไอโอ อาจหมายถึงข้อมูล ผู้เผยแพร่เนื้อหาชวนเชื่อ หรือผู้ร่วมสนับสนุนเนื้อหาชวนเชื่อก็ได้

คำศัพท์หมวด K

KPI

เคพีไอ ย่อมาจาก Key Performance Indicator แปลว่า ตัวชี้วัดหลักถึงการดำเนินงาน KPI ส่วนมากมาในรูปแบบของการทำงาน ปริมาณชิ้นงาน และผลของการทำงาน ในองค์กรที่มีการประเมินการทำงานอย่างสม่ำเสมอ จะยึดถือเรื่อง KPI เป็นสำคัญ

คำศัพท์หมวด L

Like

ไลค์ หรือปุ่มแสดงอารมณ์ต่อโพสต์ใน Facebook ปัจจุบันในโซเชียลมีเดียอื่นๆ ก็มีปุ่มนี้ เช่น LinkedIn อย่างไรก็ดีทุกวันนี้ ปุ่ม Like ของ Facebook สามารถทำได้มากกว่ากดไลค์แล้ว แต่คนจำนวนไม่น้อยก็ยังเรียกรวมๆ ว่า การกดไลค์อยู่ดี

LinkedIn

ลิงค์อิน คือโซเชียลมีเดียเครือข่ายคนทำงาน หลักๆ ใช้เพื่อสร้างเครือข่ายคนทำงานในแวดวงเดียวกัน (Connections) สร้างความน่าเชื่อถือผ่านการโพสต์ข้อมูลสาระบนหน้า Home ไปจนถึงการค้นหาบุคลากรเพื่อร่วมงานกันก็ได้

Live

ไลฟ์ คือการถ่ายทอดสดผ่าน Facebook ที่ผู้ใช้งานทุกประเภททำได้ ในหมู่ผู้ใช้งานคนไทยมักพูดว่า “ไลฟ์สด” แทนการไลฟ์

คำนี้กลายเป็นคำที่นิยมใช้กันแพร่หลายทั่วไป คาดว่าเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันในหมู่ผู้ใช้งาน Facebook คนไทย หรืออาจจะเห็นอีกคำหนึ่งคือ Live streaming (ไลฟ์ สตรีมมิ่ง) เหมือนกับคำว่า ไลฟ์ แต่มักใช้ในโซเชียลมีเดียอื่นนอกจาก Facebook

คำศัพท์หมวด M

Meme

มีม คือ ความคิดหรือไอเดีย หรือเรื่องขำขันที่สามารถใช้สื่ออารมณ์ถึงเรื่องราวอื่นได้ ส่วนมากมักเป็นภาพหรือภาพเคลื่อนไหวไฟล์ Gif และมีข้อความอยู่ด้านล่างของภาพ

Mention

เมนชั่น คือ การพูดถึงบัญชี Twitter  อีกบัญชีหนึ่ง ด้วยการทักถึงบัญชีนั้น ต้องขึ้นต้นด้วย @ และตามด้วยชื่อบัญชีนั้น

Metric

เมทริค คือ ข้อมูลเชิงสถิติที่ประเมินประสิทธิภาพการทำงาน ในที่นี้มักจะเป็นเมทริคของโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook โดยดูว่าโพสต์ โฆษณา และภาพรวมของบัญชี สร้างการตอบรับจากผู้ติดตามหรือผู้มองเห็นมากน้อยแค่ไหน เพื่อนำมาปรับและพัฒนาต่อไป

Micro influencer

ไมโคร อินฟลูเอนเซอร์ คือ บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการกระทำหรือความคิดเห็นของผู้คนจำนวนมาก โดยคนกลุ่มนี้จะมีแฟนคลับอยู่ที่ประมาณตั้งแต่ 1,000 ถึง 1 ล้านคน

คำศัพท์หมวด N

Native advertising

เนทีฟ แอดเวอร์ไทซิ่ง คือ การแสดงโฆษณาบนโซเชียลมีเดียให้เหมือนกับว่าเป็นโพสต์ทั่วไป เพื่อให้ผู้ใช้งานไม่รู้สึกเหมือนกับถูกโฆษณารบกวนมากจนเกินไป โดยจะเขียนบอกว่าเป็นโฆษณาไว้ในโพสต์ด้วย เพื่อไม่สร้างความสับสน

คำศัพท์หมวด O

Objective

อ็อบเจ็คทีฟ คือ ผลลัพธ์ที่นักการตลาดคาดหวังจะได้จากการทำแคมเปญโฆษณา Objective สามารถมีกี่ข้อก็ได้ และจะมีการกำหนดตัวชี้วัด (KPI) ว่าตัวชี้วัดใดที่จะตัดสินว่า ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ประสบความสำเร็จหรือไม่

Optimization

อ็อปติไมเซชั่น คือ กระบวนการปรับเนื้อหาที่เผยแพร่ให้ได้ผลลัพธ์ดีขึ้น โดยการปรับมาจากการวิเคราะห์ผลลัพธ์ในปัจจุบัน

คำศัพท์หมวด P

Pinterest

พินเทอเรสต์ คือ แพลตฟอร์มแบ่งปันเนื้อหาประเภทภาพ ผู้ใช้งานสามารถเลือกภาพหรือ pins ใส่ในอัลบั้มส่วนตัวหรือ boards ของตัวเองได้ เพื่อไว้ใช้ดูหรือประโยชน์แบบไม่ละเมิดลิขสิทธิ์

ในภาพมักประกอบด้วย ลิงค์เว็บไซต์ที่นำไปสู่ที่อยู่ออนไลน์ของภาพ นอกจากการเป็นแพลตฟอร์มแชร์ภาพ ปัจจุบันนักการตลาดมักใช้ Pinterest เป็นที่หาแรงบันดาลใจหรือต้นแบบงานออกแบบ

Pixel

พิกเซล คือ โค้ดที่ฝังในเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดีย เพื่อเก็บข้อมูลการคลิกหรือกิจกรรมที่ทำให้ลูกค้าเข้ามาสู่เว็บไซต์ ปัจจุบัน นักการตลาดจะนิยมทำ Facebook Pixel เพื่อใช้ข้อมูลนี้ทำโฆษณายิงใส่กลุ่มเป้าหมายที่อยู่ใน Facebook ต่อไปในอนาคต

Platform

แพลตฟอร์ม คือ พื้นที่ของซอฟต์แวร์หรือโซเชียลมีเดียที่ไว้รองรับการใช้งานของคนทั่วไป

Podcast

พอดแคสต์ คือ ไฟล์เสียงเผยแพร่เนื้อหาต่างๆ ส่วนมากจะทำออกมาเป็นตอนๆ และรวมเป็นชุด เช่น ไฟล์พอดแคสต์หนึ่งมีความยาวประมาณ 15 นาที มีทั้งหมด 12 ตอน รวมเป็น 1 ชุด พอดแคสต์สามารถพูดถึงประเด็นต่างๆ ได้หลากหลาย จึงเข้าถึงผู้ใช้งานได้หลายกลุ่ม ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมาก

คำศัพท์หมวด R

Real-Time

เรียลไทม์ แปลว่า เวลาจริง เวลาพูดว่าสิ่งไหนเรียลไทม์ หมายความว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้นในตอนนั้นเวลานั้นเลย เช่น Real-Time Search แปลว่า การค้นหา ณ เวลาตอนนั้น หรือ Real-Time Marketing ที่แปลว่า การทำการตลาดที่เกาะกระแสเหตุการณ์ในเวลานั้น เช่น แบรนด์ AAA เกาะกระแสลุงพล เลยสร้างโฆษณาที่มีตัวละครเลียนแบบลุงพลและป้าแต๋นขึ้นมา

Relevance score

เรเลอแวนซ์ สกอร์ คือ ข้อมูลเชิงสถิติใน Facebook Ads Manager ที่แจ้งว่า กลุ่มเป้าหมายของเพจธุรกิจตอบรับโฆษณาของเพจมากแค่ไหนในระดับ 1 ถึง 10 โดยคะแนนนี้จะคิดคำนวนจากหลายปัจจัย อาทิ การคลิกโฆษณา การกดไลค์ การแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือลบ

คะแนน Relevance score ยิ่งสูง แปลว่ากลุ่มเป้าหมายชอบโฆษณาของคุณมาก และระบบ Facebook อาจจะเลือกโฆษณาที่ได้คะแนนสูงๆ นี้มาโปรโมทแทนที่โฆษณาอื่นๆ ของคุณได้

Reply

เรพลาย หรือ รีพลาย แปลว่า การตอบ มีทั้งใน Facebook และ Twitter เมื่อร้านค้าโพสต์ภาพของสินค้าในเพจหรือทวิตเตอร์ แล้วมีลูกค้าเข้ามาสอบถามในโพสต์นั้น ผู้ขายของออนไลน์อาจจะใช้วิธีการ Reply เพื่อตอบคำถามลูกค้า โดยการ Reply จะทำให้ลูกค้าทราบว่ามีการตอบ

Retweet

รีทวีต คือ การแชร์ทวีตของบัญชีทวิตเตอร์อื่นในทวิตเตอร์ของตัวเอง กิจกรรมการตลาดหลายอย่างใช้วิธีการร่วมสนุกบนทวิตเตอร์ด้วยการรีทวีต ซึ่งช่วยเพิ่มการมองเห็นแบรนด์มากขึ้นได้

คำศัพท์หมวด S

Selfie

เซลฟี่ คือ การถ่ายภาพตัวเอง

Skype

สไกป์ คือ โปรแกรมโทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันสามารถทำได้ทั้งโทร ส่งข้อความ และโทรแบบวิดีโอเห็นหน้ากันด้วย

Snapchat

สแนปแชท คือ แอพพลิเคชั่นโซเชียลมีเดียรับส่งภาพและวิดีโอ โดยที่ภาพและวิดีโอจะหายไปจากระบบของผู้รับเมื่อไฟล์หมดอายุ โปรแกรมนี้เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นเป็นส่วนมาก

Social proof

โซเชียล พรูฟ คือ การยอมรับจากผู้คนหรือองค์กรหรือสังคมวงกว้าง ที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้คนที่พบเห็น เช่น นิดหน่อยทัวร์ เลือกทำเว็บไซต์กับ WOW We On Web และใช้บริการดูแลเว็บไซต์จาก WOW นับแต่นั้นมา

เมื่อ WOW We On Web แจ้งบนหน้าเว็บไซต์ของตัวเอง ลูกค้าที่สนใจทำเว็บก็รู้สึกว่า WOW เชื่อถือได้และตัดสินใจสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ WOW ทันที หรือแม้แต่การกดไลค์ คอมเมนต์กับโพสต์บนโซเชียลมีเดีย ในปริมาณที่มาก ก็ทำให้คนอื่นที่เห็นรู้สึกกล้าแสดงความคิดเห็นของตัวเองในโพสต์นั้นบ้าง

Story

สตอรี่ คือ ฟีเจอร์ของ Facebook, Instagram และ Snapchat ที่ให้โพสต์วิดีโอสั้นๆ ความยาวไม่เกิน 60 วินาที จะเรียกว่าเป็นแค่คลิปสั้นก็ได้ อายุของคลิปจะอยู่ได้ 24 ชม. จะเลือกเผยแพร่คลิปเป็นสาธารณะหรือจำกัดผู้ชมแค่บางกลุ่มก็ได้

 

คำศัพท์หมวด T

Target Group/Target Audience

ทาร์เก็ต กรุ๊ป หรือ ทาร์เก็ต ออเดียนซ์ คือ กลุ่มเป้าหมาย นักการตลาดจำเป็นต้องทราบหรือค้นหาข้อมูลเหล่านี้ เพื่อทำโฆษณาดึงดูดใจคนกลุ่มนี้ให้กลายมาเป็นลูกค้าจริงๆ ให้ได้

Template

เทมเพลต คือ รูปแบบ ในทางการตลาดมักหมายถึงรูปแบบของโฆษณา รูปแบบของเนื้อหา องค์กรหรือธุรกิจต่างๆ มักทำ Template ไว้เพื่อให้ง่ายต่อการทำงาน ทำงานได้อย่างรวดเร็ว Template ส่วนมากยึดมาจากกรณีการทำงานที่ประสบความสำเร็จมาแล้วก่อนหน้านี้ แล้วนำมาปรับแก้หรือต่อยอดให้เข้ากับการทำการตลาดใหม่ๆ

TikTok

ติ๊กต่อก คือ แอพพลิเคชั่นโซเชียลมีเดียสำหรับแชร์คลิปวิดีโอแบบสั้นๆ ตัวแอพฯ มีฟีเจอร์ปรับแต่งหรือตกแต่งให้คลิปมีความน่าสนใจมากขึ้น เช่น ใส่เสียงเพลงหรือคลิปเสียง ฟิลเตอร์สีชมพู ฯลฯ

Timeline

ไทม์ไลน์ คือ ลำดับเหตุการณ์ ในโซเชียลมีเดียอาจหมายถึงหน้าฟีดของผู้ใช้งานก็ได้

Trending 

เทรนดิ้ง คือ กำลังเป็นกระแส ถ้า Trending อยู่ในโพสต์ไหนแปลว่า สิ่งนั้นกำลังอยู่ในความสนใจ หรือธุรกิจกำลังทำการตลาดอยู่ หรือบางครั้งธุรกิจก็อาจใช้คำนี้เพียงเพื่อเรียกความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายก็ได้

Troll

โทรล คือ อันธพาลในโลกอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกกันในภาษาชาวบ้านว่า เกรียนคีย์บอร์ด

คำศัพท์หมวด U

Username

ยูเซอร์เนม คือ ชื่อบัญชีสำหรับการเข้าใช้งานโซเชียลมีเดียหรือเว็บไซต์ต่างๆ

User generated content

ยูเซอร์ เจเนอเรต คอนเทนต์ หรือ UGC คือ เนื้อหาที่ผลิตโดยลูกค้าหรือผู้ใช้งาน เนื้อหานั้นสามารถเป็นได้ทั้งข้อความหรือบล็อก รีวิว คลิปวิดีโอ ภาพ คำคม ฯลฯ นักการตลาดและธุรกิจมักจะค่อนข้างเชื่อถือเนื้อหาแนว UGC และอยากให้มันเกิดขึ้นกับการทำการตลาดของแบรนด์ด้วย โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย เพื่อสร้างความสนิทสนม ความเชื่อมั่น หรือความชื่นชอบในแบรนด์

คำศัพท์หมวด V

View

วิว คือ การเข้าชม นักการตลาดเชื่อว่า ยอดวิว บ่งบอกได้ถึงความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย และสามารถใช้ตัดสินใจได้ว่าจะทำอะไรต่อไปเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายกลายเป็นลูกค้าจริง

Viral

ไวรัล คือ การเผยแพร่ไปอย่างแพร่หลายมากๆ จนกลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงกันทั่วไป นักการตลาดหรือธุรกิจจะรู้สึกดีมากหากโฆษณาหรือโปรโมชั่นที่ทำกลายเป็นไวรัล เพราะแบรนด์จะเป็นที่รับรู้และมีคนเข้ามาสนใจ แม้อาจจะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ

อย่างไรก็ดี ไวรัลอาจจะเป็นเรื่องดีและเรื่องไม่ดีก็ได้ หากเป็นอย่างหลัง ก็ต้องคิดแผนรับมือสถานการณ์ที่เลวร้ายลงเอาไว้ด้วย

Vlogger

วล็อกเกอร์ คือ คนสร้างเนื้อหาในรูปแบบของวิดีโอ แล้วเผยแพร่เป็นสาธารณะ คำว่า Vlogger มาจากคำว่า Video + Blogger นั่นเอง

อยากทำเว็บไซต์ธุรกิจที่ช่วยสร้างยอดขายได้จริง ปรึกษา WOW ฟรีที่นี่

รับบทความใหม่ ไปอ่านก่อนใครไหม?

ทำธุรกิจออนไลน์ด้วยความรู้อัปเดต เข้าใจง่าย ได้ยอดขายดีจริงๆ กันดีกว่า!

บทความน่าอ่านในหมวดเดียวกัน

why-we-need-blog
Marketing

15 เหตุผลทำไมต้องมี Blog

คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมแบรนด์ดังๆ ถึงทุ่มเทเวลาและทรัพยากรมากมายไปกับการทำบล็อก? หรือบางทีคุณอาจกำลังคิดว่า… “ธุรกิจของเราเล็กเกินไป ยังไม่จำเป็นต้องทำบล็อกหรอก” “ลูกค้าของเราไม่น่าจะสนใจอ่านบล็อก” “เรามีโซเชียลมีเดียแล้ว บล็อกคงไม่สำคัญเท่าไหร่” “ไม่มีเวลาพอจะมาทำบล็อกหรอก มีงานอื่นที่สำคัญกว่า” ถ้าคุณกำลังคิดแบบนี้อยู่ บทความนี้มีไว้สำหรับคุณโดยเฉพาะ 15 เหตุผลต่อไปนี้จะเปิดมุมมองใหม่ให้คุณเห็นว่า ทำไมแบรนด์ระดับโลกถึงให้ความสำคัญกับการทำบล็อก และทำไมธุรกิจของคุณไม่ควรรอช้าที่จะเริ่มต้นทำบล็อกตั้งแต่วันนี้ 1. Blog สร้างลูกค้าเป้าหมายได้มากกว่าการยิงโฆษณาถึง 3 เท่า รู้ไหมว่าการทำบล็อกให้ผลลัพธ์ที่น่าทึ่งแค่ไหน? ลองนึกภาพดูว่าคุณมีบล็อกที่เขียนดี มีเนื้อหาที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย แค่นี้คุณก็มีโอกาสได้ลูกค้ามากกว่าการลงโฆษณาถึง

start-your-tour-company
Marketing

เปิดบริษัททัวร์ของคุณอย่างมั่นใจ ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม

การเปิดบริษัททัวร์ในยุคที่มีการแข่งขันสูงเช่นนี้ เป็นความท้าทายที่ต้องการมากกว่าแค่ความสามารถในการค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวที่ดีที่สุด ผู้ประกอบการต้องเข้าใจเทรนด์ตลาดที่เปลี่ยนแปลงและความต้องการของลูกค้าที่ซับซ้อนมากขึ้น การเปิดบริษัททัวร์ให้ประสบความสำเร็จนั้นต้องอาศัยทั้งความสามารถในการสร้างโปรแกรมทัวร์ที่น่าสนใจและการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยเพื่อจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมการเปิดบริษัททัวร์ถึงเป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจ? ตลาดการท่องเที่ยวที่เติบโต อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเปิดบริษัททัวร์เป็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจ ความต้องการประสบการณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ นักท่องเที่ยวมองหาประสบการณ์ที่แตกต่างและเป็นส่วนตัวมากขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสสำหรับบริษัททัวร์ที่สามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคลได้ การเข้าถึงตลาดทั่วโลก เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้บริษัททัวร์สามารถเข้าถึงลูกค้าทั่วโลกได้ง่ายขึ้น กุญแจสู่ความสำเร็จในการเปิดบริษัททัวร์ 1.การวางแผนธุรกิจที่รอบคอบ วิเคราะห์ตลาดและกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน สร้างแผนการเงินที่รัดกุม รวมถึงการประมาณการรายได้และค่าใช้จ่าย กำหนดเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวสำหรับบริษัททัวร์ของคุณ 2. การพัฒนาบุคลากร ฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้เกี่ยวกับจุดหมายปลายทางและทักษะการบริการลูกค้า สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นคุณภาพและความพึงพอใจของลูกค้า 3. การเลือกเครื่องมือที่เหมาะสม การเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญในการเปิดบริษัททัวร์ให้ประสบความสำเร็จ ต่อไปนี้คือเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ 3.1