Google My Business คืออะไร ใช้อย่างไรให้ลูกค้าเจอและเลือกเรา

Google My Business คืออะไร? สำหรับเราๆ ที่ใช้ Google เป็นประจำ เวลาค้นหาสินค้าหรือบริการอะไรสักอย่าง แล้วมีบริษัทโผล่มาด้านขวาของจอแบบนี้

Google My Business คืออะไร, รับทำเว็บไซต์, ทำเว็บไซต์, SEO 2021

Google My Business คือ เครื่องมือฟรีที่ Google สร้างเพื่อให้ธุรกิจและองค์กรห้างร้านได้ใช้เพื่อระบุตัวตนของตัวเองบนโลกออนไลน์ในระบบค้นหาของ Google ในส่วนของ Search และ Maps ซึ่งธุรกิจจะยิ่งมีตัวตนชัดเจนมากขึ้นด้วยในพื้นที่ของตัวเอง

และไม่เพียงแค่ระบุตัวตนได้อย่างเดียว แต่ธุรกิจยังสามารถใช้ Google My Business บอกเล่าเรื่องราวของตัวเอง วิธีติดต่อ และข้อมูลอีกหลายอย่างที่เพิ่มความน่าสนใจและความน่าเชื่อถือให้ตัวเอง ซึ่งสิ่งที่ขีดเส้นใต้นี้สามารถชี้วัดความสำเร็จและแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจเป็นอย่างมาก และยิ่งมากขึ้นด้วยตามวันเวลาที่ผ่านไป

ในปี 2021 นี้ Google My Business อัปเดตไปถึงไหนแล้ว และคนที่เพิ่งมาใหม่จะใช้ยังไง มาอัปเดตข้อมูลทั้งหมดไปพร้อมๆ กันกับ WOW ได้เลยค่ะ!

ทำไมต้องมี Google My Business?

Google My Business ทำให้ธุรกิจมีตัวตนและเข้าถึงได้ง่ายขึ้นบนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนทำธุรกิจออฟไลน์และจำเป็น 100% เลยสำหรับคนที่ทำธุรกิจออนไลน์ ทีนี้เรามาเจาะประโยชน์ของ Google My Business เพิ่มเติมกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1. เพิ่มโอกาสให้ชื่อแบรนด์ติดลิสต์รายชื่อธุรกิจ

Google My Business มักสร้างลิสต์บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งทำให้แบรนด์ของคุณเป็นที่รู้จักได้ในกลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่กำลังมองหาคุณอยู่ และกลุ่มเหล่านี้นี่เองที่มีความตั้งใจรวมถึงกำลังซื้อสูงที่ธุรกิจตามหา

2. รวมและแสดงรีวิวจากลูกค้าผู้ใช้งาน

Google My Business จะมีส่วนของรีวิวหรือความคิดเห็นของผู้ใช้งานหรือลูกค้า หากธุรกิจของคุณขายสินค้าหรือบริการคุณภาพดี มีบริการที่ถูกใจลูกค้า รีวิวจะมีประโยชน์มากๆ เพราะจะช่วยโฆษณาและเรียกลูกค้าให้คุณเอง

ซึ่งความเห็นของลูกค้าหรือ Social Proof มีอิทธิพลสูงมากต่อการซื้อสินค้าและบริการของลูกค้าคนอื่นๆ ต่อไป

3. เรียนรู้ธุรกิจของตัวเอง

เจ้าของธุรกิจสามารถเรียนรู้ข้อมูลที่ได้จาก Google My Business ไว้ใช้ปรับปรุงหรือพัฒนาธุรกิจของคุณต่อไปได้ ข้อมูลที่ว่านั้นก็เช่น

  • ยอดวิวโปรไฟล์ รูปภาพ และโพสต์ต่างๆ
  • คำค้นที่ลูกค้าค้นจนเจอธุรกิจของคุณ
  • ปฏิสัมพันธ์ที่ลูกค้ามีต่อเรา
  • ลักษณะลูกค้าหรือคนที่กดดูโปรไฟล์ธุรกิจของคุณ เช่น อายุ เพศ ประเทศ
  • จำนวนคนคลิกเว็บไซต์ โทรเข้า ถามเส้นทาง

วิธีทำ Google My Business

ขั้นตอนการทำ Google My Business ง่ายมาก (สำหรับลูกค้าเว็บไซต์หรือเครื่องมือการขายออนไลน์ของ WOW We On Web มีบริการติดตั้งพร้อมใช้งานทุกเว็บ) สามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้เลย

1. เข้าไปที่หน้า Create ใน Google My Business

ก่อนจะเริ่มสร้าง ให้ลองค้นหาชื่อบริษัทหรือธุรกิจของคุณก่อนใน Google ว่ามีหรือไม่ และเข้าไปค้นหาอีกทีที่หน้า Create ของ Google My Business เพื่อความมั่นใจ

Google My Business คืออะไร, รับทำเว็บไซต์, ทำเว็บไซต์, SEO 2021

สมมติว่าไม่มี ให้คลิกที่กล่อง pop-up ที่โผล่ขึ้นมา หรือคลิกลิงค์ add your business to Google ที่อยู่ด้านล่าง เพื่อไปขั้นตอนต่อไป

2. ใส่ชื่อธุรกิจของคุณ

ใส่ชื่อธุรกิจที่ใช้อยู่จริงในปัจจุบัน และไม่แนะนำให้ใส่คำอื่นเพิ่มเติมเพื่อหวังผลการค้นหา เช่น คำค้น เพราะอาจทำให้บัญชี Google My Business ของคุณถูกระงับได้

Google My Business คืออะไร, รับทำเว็บไซต์, ทำเว็บไซต์, SEO 2021

3. เลือกประเภทธุรกิจที่ตรงกับธุรกิจคุณที่สุด

Google My Business มีประเภทธุรกิจให้เลือกมากกว่า 3,000 ประเภท ให้คุณเลือกเพียงอย่างเดียวที่บ่งบอกถึงธุรกิจของคุณได้ชัดเจนที่สุด

เช่น ถ้าคุณขายเสื้อผ้าผู้หญิง ก็ให้เลือกหลักๆ มา 1 อย่างก่อน เช่น สินค้าแฟชั่น เพราะเดี๋ยวค่อยไปใส่ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลังได้ เช่น อสังหาฯ ก็เพิ่มเติมเป็นนายหน้า ที่พักก็เพิ่มเติมเป็นโรงแรม การศึกษาก็เพิ่มเติมเป็นโรงเรียนสอนพิเศษ ฯลฯ

Google My Business คืออะไร, รับทำเว็บไซต์, ทำเว็บไซต์, SEO 2021

4. เลือกพิกัดที่ตั้ง

ธุรกิจสามารถเติมพิกัดที่ตั้งหรือไม่ก็ได้ ซึ่งหากใส่ไปแล้วจะปรากฎเป็นสาธารณะ หากเลือกเติมให้ใส่ที่อยู่เต็ม เพื่อให้ลูกค้าสามารถค้นหาคุณเจอ ติดต่อได้

Google My Business คืออะไร, รับทำเว็บไซต์, ทำเว็บไซต์, SEO 2021

5. รีวิวก่อนคอนเฟิร์ม

Google จะให้ยืนยันอีกครั้งว่า มีธุรกิจของคุณเคยทำ Google My Business ไปก่อนหน้านี้แล้วหรือไม่ ถ้าไม่มีให้ยืนยันว่าไม่มีเพื่อไปขั้นตอนต่อไป

6. ดูแลลูกค้านอกสถานที่ไหม

หากมีบริการดูแลติดตั้งหรือบริการตามสถานที่ หรือบริการส่ง ก็ให้ระบุตามนั้น เพื่อช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจง่ายขึ้น

Google My Business คืออะไร, รับทำเว็บไซต์, ทำเว็บไซต์, SEO 2021

7. เลือกพื้นที่ให้บริการ

หากเลือก yes ในข้อ 6 คุณถึงจะสามารถเลือกพื้นที่ให้บริการได้ และเลือกได้มากกว่าหนึ่งจุดด้วย

Google My Business คืออะไร, รับทำเว็บไซต์, ทำเว็บไซต์, SEO 2021

8. ใส่ข้อมูลติดต่อ

ระบบจะให้ใส่หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ ลิงค์เว็บไซต์ หรือกดรับลิงค์เว็บจาก Google

Google My Business คืออะไร, รับทำเว็บไซต์, ทำเว็บไซต์, SEO 2021

9. เลือกรับข้อมูลอัปเดตจาก Google

Google My Business คืออะไร, รับทำเว็บไซต์, ทำเว็บไซต์, SEO 2021

10. กด Finish เพื่อยืนยันข้อมูลที่กรอก

Google My Business คืออะไร, รับทำเว็บไซต์, ทำเว็บไซต์, SEO 2021

11. กด Verify เพื่อยืนยันอย่างเป็นทางการ

ทำได้ 2 ช่องทางคือ ผ่านเบอร์โทรและโปสการ์ด แต่หากเลือก Verify later การทำ Google My Business จะถือว่ายังไม่เสร็จสมบูรณ์ สุดท้ายก็ต้องกลับาทำใหม่อยู่ดี แนะนำให้ verify ไปเลยดีกว่า

12. เข้าสู่หน้า Dashboard ได้เลย!

ระหว่างที่รอ verify คุณก็สามารถเข้าหน้าจัดการบัญชี หรือ Dashboard ได้เลย โดยสามารถเติมเนื้อหาเพิ่มเติม เช่น เวลาทำการ ภาพบริษัทหรือสินค้า โลโก้ คำอธิบาย และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ แต่เสร็จแล้วก็ต้องกด verify อีกทีนะคะ

 

อ่าน : SEO กับ SEM ใช้ตัวไหน ถึงดีกับธุรกิจที่สุด?

10 โปรแกรมหา Keyword เพื่อทำ SEO ดีที่สุด แม่นตามคนค้นจริง

 

ข้อสงสัยที่มักเจอเวลาทำ Google My Business 

Q1 : ธุรกิจต้องมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งหรือใส่ที่อยู่ไหม?

จำเป็น Google ค่อนข้างให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค แม้จะเป็นธุรกิจที่ไม่มีหน้าร้าน เช่น หมอนวดรับจ้างตามบ้าน หรือช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ คุณก็จำเป็นต้องใส่ที่อยู่ลงไป

แต่ถึงจะใส่ก็เลือกได้ว่าไม่เปิดเป็นสาธารณะ ทางระบบแค่สร้างเครือข่ายที่ยืนยันได้ว่าคุณมีตัวตนจริงก็พอ

Q2 : ทำธุรกิจหลายอย่าง อยากระบุสถานที่หลายแห่ง จะทำได้ไหม?

ทำได้ ให้คุณดาวน์โหลดเทมเพลตรายชื่อสถานที่ตั้ง ซึ่งจะเป็นไฟล์ excel

Google My Business คืออะไร, รับทำเว็บไซต์, ทำเว็บไซต์, SEO 2021

พอสร้างตารางรายชื่อเสร็จเรียบร้อย เข้าไปที่ location groups ตรง Add location ให้เลือก Import locations แล้วอัปโหลดไฟล์ที่ตั้งเข้าไปได้เลย

Google My Business คืออะไร, รับทำเว็บไซต์, ทำเว็บไซต์, SEO 2021

Q3 : ถามตอบลูกค้าบน Google My Business คืออะไร?

Google My Business จะมีส่วนให้ถามตอบกับลูกค้าโดยอัตโนมัติ ลูกค้าหรือใครก็ตามสามารถโพสต์ถามคำถามในนี้ได้

แต่ประเด็นคือ ใครๆ ก็สามารถตอบคำถามที่มีคนถามได้ ดังนั้น คุณที่เป็นเจ้าของธุรกิจจะต้องไว มาตอบคำถามของลูกค้าให้ทันก่อนใครจะชิงตอบ เพื่อให้ไม่พลาดโอกาสตอบข้อสงสัยของลูกค้าและดูแลพวกเขาด้วยในเวลาเดียวกัน

Q4 : ทำยังไงให้ลูกค้าเขียนรีวิวร้านค้าหรือบริษัทให้เรา?

รีวิวลูกค้าช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและความน่าสนใจให้กับธุรกิจหรือร้านค้าได้อย่างเป็นธรรมชาติ เรียกได้ว่าเป็นการตลาดที่ได้ผลดีที่สุดและไม่มีค่าใช้จ่ายในการโฆษณาเพิ่มเลย

ซึ่งสิ่งที่ธุรกิจต้องทำคือ มอบสินค้าหรือบริการที่ดีและน่าพึงพอใจให้กับลูกค้าให้มากที่สุด หากไม่เช่นนั้นแล้ว รีวิวจะกลายเป็นดาบที่หันมาทิ่มแทงชื่อเสียงธุรกิจให้เสียหายได้ เราสามารถกระตุ้นให้ลูกค้าเขียนรีวิวได้หลายวิธี เช่น

  • ใช้เครื่องมือการตลาดของ Google เอง สร้างโพสต์โซเชียล สติ๊กเกอร์ หรือโปสเตอร์ กระตุ้นให้ลูกค้าเขียนรีวิว
  • ส่งอีเมลหาลูกค้าหลังจากนั้น และเขียนชวนให้ลูกค้าเขียนรีวิว โดยแนบลิงค์ให้กดเข้าสู่การเขียนรีวิว (แนะนำให้ย่อลิ้งค์ให้สั้น ให้ดูสบายตาน่ากดมากขึ้น)
  • สอบถามลูกค้าขาประจำไปตรงๆ เพราะลูกค้าประจำนี่แหละที่รู้ทุกแง่มุมของสินค้า/บริการ ทั้งข้อดีและข้อเสีย เพียงแค่ว่าจะมีโอกาสได้บอกเล่าออกมาหรือไม่ก็เท่านั้นเอง!

 

Q5 : เปลี่ยนที่อยู่ใน Google My Business ยังไง?

  1. เข้าไปที่บัญชี Google My Business
  2. จากแถบเมนู คลิกที่ “Info”
  3. คลิกที่ช่องแถบที่อยู่ ใส่ข้อมูลที่อยู่ลงไปแล้วกด “Apply”
  4. Google จะค้นหาที่อยู่ตามที่กรอก ถ้าระบบหาไม่เจอ ให้เราคลิกที่ “Set marker location” ที่จะอยู่เหนือแผนที่ทางด้านขวามือของคุณ
  5. แผนที่จะขึ้นมาพร้อมกับหมุดสีแดง คุณสามารถลากหมุดนี้มาอยู่ตรงกลางที่ตั้งธุรกิจของคุณได้เลย ถ้าเสร็จแล้วก็คลิก “Apply”
  6. การเปลี่ยนแปลงจะยังไม่แสดงในทันที เพราะ Google จะนำข้อมูลนี้ไปรีวิวความถูกต้อง ก่อนจะอนุมัติผลให้แสดงใน Google My Business

 

WOW ส่งท้าย

หวังว่าข้อมูลสาระเน้นๆ ข้างต้นจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ผู้ทำธุรกิจได้ว่า Google My Business คืออะไรนะคะ สิ่งนี้เป็นกำไรฟรีๆ ที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวงเลย โดยเฉพาะคนที่ทำธุรกิจออนไลน์โดยตรงหรืออยากขยายธุรกิจด้วยการขายบนพื้นที่ออนไลน์

แต่หากอยากสร้างพื้นที่ธุรกิจบนโลกออนไลน์อย่างมั่นคงแบบไม่เป๋ไปเป๋มาตามอัลกอริทึ่มโซเชียลมีเดียหรือกติกาของแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ทั้งหลาย ฟังทางนี้! WOW E-Commerce ตอบโจทย์พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ด้วยระบบขายของออนไลน์ทันสมัย รับออเดอร์ จัดการสต็อก และโฆษณาสินค้าทั่วทุกแพลตฟอร์มได้ในที่เดียว สะดวก จัดการง่าย ควบคุมพื้นที่ได้เอง พร้อมทีมงานมืออาชีพคอยดูแลตลอดการใช้งาน ติดต่อรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือปรึกษาฟรีที่ WOW We On Web ทุกช่องทางติดต่อได้ตั้งแต่ตอนนี้ 

อ้างอิง :

https://bit.ly/2O8ARGB

อยากทำเว็บไซต์ธุรกิจที่ช่วยสร้างยอดขายได้จริง ปรึกษา WOW ฟรีที่นี่

รับบทความใหม่ ไปอ่านก่อนใครไหม?

ทำธุรกิจออนไลน์ด้วยความรู้อัปเดต เข้าใจง่าย ได้ยอดขายดีจริงๆ กันดีกว่า!

บทความน่าอ่านในหมวดเดียวกัน

why-we-need-blog
Marketing

15 เหตุผลทำไมต้องมี Blog

คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมแบรนด์ดังๆ ถึงทุ่มเทเวลาและทรัพยากรมากมายไปกับการทำบล็อก? หรือบางทีคุณอาจกำลังคิดว่า… “ธุรกิจของเราเล็กเกินไป ยังไม่จำเป็นต้องทำบล็อกหรอก” “ลูกค้าของเราไม่น่าจะสนใจอ่านบล็อก” “เรามีโซเชียลมีเดียแล้ว บล็อกคงไม่สำคัญเท่าไหร่” “ไม่มีเวลาพอจะมาทำบล็อกหรอก มีงานอื่นที่สำคัญกว่า” ถ้าคุณกำลังคิดแบบนี้อยู่ บทความนี้มีไว้สำหรับคุณโดยเฉพาะ 15 เหตุผลต่อไปนี้จะเปิดมุมมองใหม่ให้คุณเห็นว่า ทำไมแบรนด์ระดับโลกถึงให้ความสำคัญกับการทำบล็อก และทำไมธุรกิจของคุณไม่ควรรอช้าที่จะเริ่มต้นทำบล็อกตั้งแต่วันนี้ 1. Blog สร้างลูกค้าเป้าหมายได้มากกว่าการยิงโฆษณาถึง 3 เท่า รู้ไหมว่าการทำบล็อกให้ผลลัพธ์ที่น่าทึ่งแค่ไหน? ลองนึกภาพดูว่าคุณมีบล็อกที่เขียนดี มีเนื้อหาที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย แค่นี้คุณก็มีโอกาสได้ลูกค้ามากกว่าการลงโฆษณาถึง

blog-content-seo-strategy
SEO

กลยุทธ์การเขียน Blog ให้ติด SEO อย่างมีประสิทธิภาพ 7 ขั้นตอน

การทำบล็อกให้ติดอันดับ Google เป็นหัวใจสำคัญของการทำการตลาดออนไลน์ในปี 2024 เทคนิค SEO สำหรับบล็อกที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงช่วยประหยัดงบประมาณการโฆษณา แต่ยังสร้างทราฟฟิกระยะยาวให้กับเว็บไซต์ โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจ B2B ที่ต้องการวิธีทำบล็อกให้ติดหน้าแรก บทความนี้จะแนะนำขั้นตอนการสร้างกลยุทธ์การเขียนบล็อกและการทำ SEO บล็อกที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับบน Google ได้อย่างยั่งยืน พร้อมเทคนิคการทำบล็อกให้น่าสนใจที่นำไปใช้ได้จริง   เข้าใจพื้นฐานก่อนเริ่มต้น การเขียนบล็อกให้ติด SEO ไม่ใช่แค่การใส่คำค้นหาลงไปในเนื้อหา แต่ต้องเริ่มจากความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและเป้าหมายทางธุรกิจของคุณอย่างลึกซึ้ง มาดูขั้นตอนสำคัญทั้ง 7